การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยแบบมีส่วนร่วม ของโรงพยาบาลโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลโพนทราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นคณะกรรมการพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยโรงพยาบาลโพนทราย จำนวน 15 คน และเครือข่าย จำนวน 66 คน ดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูลตั้งแต่มกราคม 2561-เดือนธันวาคม 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยกลยุทธ์การสื่อสารและความมีส่วนร่วม กลยุทธ์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดซื้อจัดจ้างและกลยุทธ์การควบคุมมาตรฐาน เมื่อนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติแล้วพบว่า ส่งผลให้มาตรฐานด้านอาหารผู้ป่วย มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของสถานที่ประกอบอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล และมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารในโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์ประเมินอยู่ในระดับดีมาก
Article Details
References
กองบริหารการสาธารณสุข. (2560). มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปถอดภัย (Food Safety Hospital). นนทบุรี:บริษัท บอร์น ทู บี พับลิซชิ่ง จำกัด.
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยฉบับที่สอง พ.ศ. 2560-2579. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
น้ำทิพย์ จองศิริ และวัชรพงษ์ แสนใจยา. (2564). การพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 29 (1), 65-79.
พงศ์ธร เกียรติดำรงศ์, บรรณาธิการ. (2556). Nutrition update. กรุงเทพมหานคร: พราวเพรส (2002) จำกัด.
พรสวรรค์ ไชยคุณ, นฤมล สินสุพรรณ และสุทิน ชนะบุญ. (2563). การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลเปือยน้อย อำเภอเปื่อยน้อย จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13 (2), 407-13.
พิสมัย บุษบุญ และมะลิวรรณ อังคณิตย์. (2566). การพัฒนาแนวทางการจัดบริการงานด้านโภชนาการภายในโรงพยาบาลเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 8 (1), 153-65.
วิไลวรรณ สาครินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 15 (1), 226-40.
Deming, w. (1986). Edwards. Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering Study.
Kang Y, Lee HS, Paik NJ, Kim WS, Yang M. (2010). Evaluation of enteral formulas for nutrition,health, and quality of life among stroke patients. Nutr Res Pract. 4 (5), 393-9.
Krause, MV. Hunscher, MA. (1972). Food. Nutrition and Diet Therapy. Philadelphia : : W.B. Saunders Company.
Lawler, Marilyn R. (1977). Normal and Therapeutic Nutrition. New York : Macmillan Publishing Co Inc.
Prosser-Loose EJ, Verge VM, Cayabyab FS, Paterson PG. (2010). Protein-energy malnutritionalters hippocampal plasticity-associated protein expression following global ischemia in the gerbil. Curr Neurovasc Res. 7 (4), 341-60.