การพัฒนาตัวแบบในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ในคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่ขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น:กรณีจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้ 2. เพื่อดำเนินการพัฒนาวิธีการสร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้ 3. เพื่อประเมินประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ และ 4. เพื่อประเมินกลไกการบูรณาการซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเริ่มจากดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชากรเป้าหมายใน 23 อำเภอ จากนั้นนำชุดการเรียนรู้มาทดลองอำเภอนบพิตำ ด้วยวงจร PAOR จำนวน 3 รอบ จากนั้นนำชุดการเรียนรู้ตามสมรรถนะที่สมบูรณ์มาประเมินประสิทธิผลการใช้ Module กับ 6 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยเปรียบเทียบผลการอบรม ก่อน หลัง และสุดท้ายดำเนินการกำหนดกลไกการบูรณาการการดำเนินงานโดยการสนทนากลุ่มในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นใน 7 อำเภอ พร้อมทั้งวิเคราะห์จากการประเมินผลโครงการด้วย CIPP Model
ผลการวิจัยพบว่า 1.ชุดการเรียนรู้พบจำนวน 3 ชุดประกอบด้วย Module 1.1 นโยบาย กฎหมายและการบริหารโครงการเพื่อพัฒนาวัยรุ่น 1.2 วัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และ 1.3 กลยุทธ์การให้คำปรึกษาและบริการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น 2. ทดลองใช้กับอำเภอนบพิตำ จำนวน 3 รอบ (1) ร้อยละ 49.19 (2) ร้อยละ 73.94 และ(3) ร้อยละ 83.55 3. จากนั้นนำมาทดลองใช้จริงกับ 6 อำเภอ พบว่าประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ E1/ E2 = 80.95/80.78 และ 80.44/81.33 และพบว่าค่าเฉลี่ยการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการศึกษาชุดการเรียนรู้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการวิเคราะห์สมรรถนะ ชุดที่ 1 ระดับดี( x̅ = 4.05, S.D.= .652) ชุดที่ 2 ระดับดี ( x̅ = 4.04, S.D.= .553) ชุดที่ 3 ระดับดี ( x̅ = 4.05, S.D.= .615) และผล CIPP Model พบว่า เนื้อหามีความครบถ้วนในเนื้อหาสาระเพียงพอ
Article Details
References
คณะกรรมการกลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น. (2563). แผนบริหารความเสี่ยง 2563 ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราชฯ: กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช.
คณะกรรมการสำนักอนามัยการเจริญพันธ์. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธ์. กรุงเทพมหานครฯ: กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข.
ทรงธรรม ดีวาณิชสกุล และนภดล กลิ่นทอง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานในขณะปฏิบัติงาน (On the job training) สำหรับหัวหน้างานสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, ปีที่ 19 (ฉบับที่ 3), 111-118.
ราชกิจจานุเบกษา. (2559). พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559” เล่ม 133/ตอนที่ 30ก/หน้า 1/31 มีนาคม 2559.
อดิศักดิ์ ทุมอนันต์, ประพิศ โบราณมูล, บรรจง ลาวะลี, พระศรีวินยาภรณ์. (2566). การติดตามและประเมินผล
การดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์. ปีที่ 3 (ฉบับที่ 3), 151-160.
อุษา สถิตย์มั่น, มานะ ขาวเงิน, จิตสุภา สาคร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรแบบโมดูล และยกระดับศักยภาพภาษาอังกฤษทางด้านโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม. วารสารรัฐประศาสน. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 3), 125-138.
Halter, E. A. (1978). A Follow-up Study of Beginning Teacher Prepared Through the Community College Cooperative Intership Program. Dissertation Abstracts Internation, 35(05), 5944A-5945A.