ประสิทธิภาพผลงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ กระเป๋าเดลิเวอรี่ร้อนหนาว

Main Article Content

ณรัญญา พิพัฒนานนท์
นภัสกร คีรีรักษ์
ศิริวิภา ไตรณรงค์
สมาภรณ์ นวลสุทธิ์
สุจินดา พรหมขำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพผลงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ กระเป๋าเดลิเวอรี่ร้อนหนาว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อออกแบบกระเป๋าเดลิเวอรี่ร้อนหนาวให้ลดเวลาการจัดสินค้าตามคำสั่งซื้อ (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการ ร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้าราชภัฏนครศรีธรรมราช ในการวิจัยครั้งนี้มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการและผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยแบ่งเป็นผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven จำนวน 15 คน และผู้รับบริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven จำนวน 400 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แบบบันทึกเวลาการจัดสินค้าตามคำสั่งซื้อ (2) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์หาค่าร้อยละและการหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลจากแบบบันทึกเวลาการจัดสินค้าตามคำสั่งซื้อ การบันทึกเวลาก่อนทำและหลังทำ พบว่าจากการใช้เวลา 20 นาที ลดเหลือ 10 นาที (2) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.45 และ
(3) ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อร้าน 7-Eleven สาขาหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.41

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สบสม และ นพรัตน์ หมีพลัด. (2565). การพัฒนากระบวนการจัดการการเรียนรู้ด้วยโครงงานเพื่อส่งเสริมทักษะการวิจัยและ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 22 (1), 17–29.

โกสินทร์ ชำนาญพล. (2562). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ. วารสาร ราชพฤกษ์. 17 (2), 130-138.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2560). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถใน การทำวิจัยของบัณฑิตศึกษา,วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 100-119.

ชนันท์ธิดา ประพิณ และคณะ. ( 2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 (1), 30-47.

ชุลีพรรณ แสนพันธ์ และ ลีลา เตี้ยงสูงเนิน. (2561). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ด้วย Mobile Application ของผู้บริโภคในเขตนนทบุรี (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข และ อนิรุทธ์ สติมั่น. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียน แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญาผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อเสริมสร้างทักษะความคิด สร้างสรรค์และการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 47 (1), 84-102.

วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา และอาษา ตั้งจิตสมคิด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, 12 – 13 กรกฎาคม 2562 (น. 1464- 1478). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2556). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวก

ซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 4 (2), 40-56.

สมาน อัศวภูมิ. (2561). ทบทวนแนวคิดและวิธีวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 18 (1), 1-10.

อเนก ศิลปะนิลมาลย์. (2560). เขียนกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างไรถึงจะถูก (เขียนงานวิจัยให้เป็นกันเถอะ 4). วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6 (1), 135-142.