การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกระบวนการบริการเพื่อเพิ่มผลการดำเนินงาน ของธุรกิจที่พักระดับ 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

กรกมล มุสิกชาติ
แสงแข บุญศิริ

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกระบวนการบริการเพื่อเพิ่มผลการดำเนินงานของธุรกิจที่พักระดับ 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key-Informant) จำนวน 29 คน จากผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป แผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกแม่บ้าน และแผนกอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การพัฒนาด้วยสัมผัสทั้งห้า การพัฒนาด้วยเอกลักษณ์ของธุรกิจที่พัก และการพัฒนาด้วยการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ ในส่วนการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการบริการ ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งจะนำมาสู่การเพิ่มผลการดำเนินงานอันเกี่ยวกับยอดขาย ส่วนแบ่งการตลาด ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การกลับมาใช้บริการซ้ำ และการใช้บริการที่มากขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชนิภา วานิชกิตติกูล, ปิยะวรรณ ยางคำ, อมร โททำ, นาวา มาสวนจิก, และธีระศักดิ์ เกียงขวา. (2566).

การยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสำหรับเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(6), 58-72.

กฤษดี พ่วงรอด, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2560). เงื่อนไขที่เอื้อต่อการพัฒนา

ความสามารถทางนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชายแดนใต้. วารสาร

วิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 25-38.

ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณ และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2565). การประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ

อุตสาหกรรมโรงแรมยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์, 8(1), 251-266.

ดาวศุกร์ บุญญะศานต์ และชงค์สุดา โตท่าโรง. (2563). นวัตกรรมการบริการกับการสร้างคุณค่าในธุรกิจ

โรงแรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 8, 68 -70.

ธิษณา หาวารี และบุษรา โพวาทอง. (2565). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ระหว่าง

พ.ศ. 2563-2564 ของโรงแรมในเขตพัทยาเหนือกรณีศึกษาโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็ก

และขนาดกลาง. สาระศาสตร์, 2, 219-232.

ปฐมพร ศรีมณี และนันทนา อุ่นเจริญ. (2563). นวัตกรรมการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักโรงแรมบูติค

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด, 14(1), 159-171.

มาริสา สุโกศล. (2566). โรงแรมหรูยอดจองพุ่ง ท่องเที่ยวไฮซีซั่นโตกระจุก รายเล็ก 3-4 ดาวยังกระอัก.

ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/tourism/

news-1452159

สมาคมโรงแรมไทย. (2565). รายชื่อโรงแรม/รีสอร์ท ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว.

ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา https://www.thaihotels.org/16750781/รายชื่อที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรม

ระดับ 3 ดาว เมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์การจัดการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Barnes, J. (2017). Out with the old-perception and in with the new-five senses research

in tourism and hospitality studies. AU-GSB e-JOURNAL, 10(1), 134-134.

Barton, D. (2016). ที่พักที่มีบุคลิกโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567.

แหล่งที่มา https://www.guestline.com/th/blogs/personality/

Floral. (2019). สร้างโอกาสทางการตลาด ด้วย 5 ประสาทสัมผัส. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2566.

แหล่งที่มา https://floralhotelsupply.com/th/create-marketing-opportunities-with-5-

senses/

Lewis, R. A. and Mottier, E. M. (2012). A “hotel within a hotel” in Bangkok. Emerald

Emerging Markets Case Studies, 2(8), 1-9.

Mansury, M. A. and Love, J. H. (2008). Innovation, productivity and growth in US business

services: A firm-level analysis. Technovation, 28(1-2), 52-62.

Mezmir, E. A. (2020). Qualitative data analysis: An overview of data reduction, data display,

and interpretation. Research on humanities and social sciences, 10(21), 15-27.

Sharma, D. (2016). Enhancing customer experience using technological innovations:

A study of the Indian hotel industry. Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 8(4), 469-480.

Souto, J. E. (2015). Business model innovation and business concept innovation as the

context of incremental innovation and radical innovation. Tourism management,

, 142-155.

Vivek, S. D., Beatty, S. E., and Morgan, R. M. (2012). Customer engagement: Exploring

Customer relationships beyond purchase. Journal of marketing theory and practice,

(2), 122-146.

Wei, W., Miao, L., and Huang, Z. J. (2013). Customer engagement behaviors and hotel

responses. International Journal of Hospitality Management, 33, 316-330.

Weng, M. H., Ha, J. L., Wang, Y. C., and Tsai, C. L. (2012). A study of the relationship among service innovation, customer value and customer satisfaction: An empirical study of the hotel industry in Taiwan. International Journal of Organizational Innovation, 4(3), 98-112.