การพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยของประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล

Main Article Content

วีระพล ศรีวุฒิชาญ
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง
วรเดช จันทรศร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยสู่มาตรฐานสากล 2) ศึกษาอิทธิพลของนโยบายด้านการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรสถานศึกษา การบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยสู่มาตรฐานสากล และ 3) ศึกษารูปแบบใหม่ของการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยมาตรฐานสากล กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนในระดับปฐมวัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีจำนวนตัวอย่าง 304 คน ศึกษาข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลในเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยสู่มาตรฐานสากลในภาพรวมของของประเทศมีการดำเนินงานในระดับมากที่สุด ทั้งด้านนโยบานการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) นโยบายด้านการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรสถานศึกษา การบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อในการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยสู่มาตรฐานสากล 3) รูปแบบใหม่ของการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยสู่มาตรฐานสากล จะต้องวางแนวทางที่คำนึงถึงการขับเคลื่อนแบบองค์รวมที่ใช้ประโยชน์จากครอบครัว ครู โรงเรียน และชุมชนเป็นฐานสำคัญในการดำเนินงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลเนตร ใฝ่ชำนาญ และคณะ. (2565). ยุทธศาสตร์การบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดเลย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 38 (2), 24-34.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2555). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการบริหารจัดการในสถานศึกษาปฐมวัย ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหาจัดการสถานศึกษาปฐมวัย (หน่วยที่ 5, หน้า 5-1 ถึง 5-94). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จารุกิตติ์ สิทธิยานนท์. (2559). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามแนวคิดพลโลกศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นริสานันท์ เดชสุระ. (2552). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตปฐมวัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิเวศน์ อุดมรัตน์. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารราชพฤกษ์. 8 (3), 23-29.

ปราณิสรา แพหมอ. (2561). รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 7 (2), 126-134.

พัชรัตน์ วุฒิญาณ. (2565). ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล: พหุกรณีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ภัธรภร ปุยสุวรรณ นพดล เจนอักษร และ ปิลัญ ปฏิพิมพาคม. (2557). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28 (87), 345-367.

มานะ สุดสงวน. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11 (3), 3395-3412.

เมธี อินาลา, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการจัดการศึกษาปฐมวัยและความสำเร็จในการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครพนม. วารสารบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 142-153.

วรนาท รักสกุลไทย. (2548). หน่วยที่ 6 การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1-6. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมา

ธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา แห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2557). นวัตกรรมการประเมินพฤติกรรมเด็กปฐมวัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การประเมินและสร้างเสริมพฤติกรรมเด็กปฐมวัย (หน่วยที่ 14, หน้า 14-1 ถึง 14-40). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Fullan, M. (2007). The New Meaning of Educational Change. Teachers College Press.

Kline, R. B. (2005). Principle and Practice of Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New York: The Guilford Press.

Leithwood, K., Seashore Louis, K., Anderson, S., & Wahlstrom, K. (2004). How Leadership Influences Student Learning. The Wallace Foundation.

Robinson, V.. Lloyd, C., Roowe, J. (2008). The Impact of Leadership on Student Outcomes: An Analysis of the Differential Effects of Leadership Types. Educational Administration Quarterly, 44(5), 1-49.