การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัล สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อารี สาริปา
จิราภรณ์ เหมพันธ์
อภินันท์ อามีเราะ
ประภาศรี เพชรมนต์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก  2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 6 โรงเรียน รวม 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน และสุ่มแบบกลุ่มในแต่ละขั้นตอน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก แบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาประสิทธิภาพ E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 4 ชุดย่อย ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่อง ทักษะศตวรรษที่ 21 ชุดที่ 2 เรื่อง การเรียนรู้เชิงรุกบูรณาสื่อดิจิทัล ชุดที่ 3 เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และชุดที่ 4 เรื่อง การประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2) ชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ E1/E2 ตามเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75/75 และ 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดกิจกรรมฝึกอบรมทักษะการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการสื่อดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2557). การยกระดับคุณภาพครู. การประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ครั้งที่ 2. 24 มกราคม 2557.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และ องอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. Journal of Intelligence. 12 (2), 47-63.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7 – 20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปัญจลักษณ์ ถวาย. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการตลาด สำหรับผู้ประกอบการของวิสาหกิจชุมชน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 18 (3), 19-36.

ภิชา ใบโพธิ์และชาริณี ตรีวรัญญู. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น. Journal of Information and Learning. 33 (3), 73-87.

มณฑา วิริยางกูร ศิวะพัฒน์ โพธิ์ศรีและณัฏฐณิชา จำเรียง. (2565).การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 22 (3), 293-304.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์. 1 (1), 11-18.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พวงเพ็ญ อินทรประวัติ, ณฐกร ดวงพระเกษ และฐิติรัตน์ คล่องดี. (2564). สมรรถนะของครู4ด้านที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 22 (1), 180-195.

สถาบันทดสอบทางการศึกษา (2564). สรุปผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://bet.obec.go. th/3576/27/01/2023

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). เปิดผล PISA 2022 หลังผ่าวิกฤตโควิด 19 ระบบการศึกษาทั่วโลกคะแนนเฉลี่ยลด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.ipst.ac.th/news/54912/20231106-pisa2022.html

สถิตย์ ปริปุณณากร. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม ของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. 5 (1), 100-109.

Bonwell, C.C.; & Eison.J. A. (1991). Active Learning: Creative Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Reports No. 1. Washington, D.C.

Felder, R., & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching. 44, 43-47.