ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน บ้านหนองบัว ตำบลบ้าแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

พิพิธธนวดี สมคะเณย์
วาสนา ชาธิพา
กมลพัฒน์ ไชยสงคราม
วิจิตร ศิริกิจ
ประยูร แสงใส

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน บ้านหนองบัว ตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ จำนวนประชาชนที่มีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน จำนวน 90 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
          ผลวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน บ้านหนองบัว ตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยรวมการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับดี (  = 3.81, S.D. = 0.68)  โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านวัฒนธรรมของชุมชน อยู่ในระดับดีมาก (  = 4.34, S.D. = 0.77) รองลงมา ด้านความร่วมมือของประชาชนในชุมชน อยู่ในระดับดี (  =  4.07, S.D. = 0.74) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับดี (  = 4.07, S.D. = 0.73) และด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.34, S.D. = 0.80) และด้านการการสนับสนุนจากภายนอก อยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.32, S.D. = 0.83) ดังนั้น การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนองบัวอยู่ในระดับดี เพราะประชาชนบ้านหนองบัวร่วมกันปลูกป่ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ และได้นำต้นไม้มาแจกให้ชาวบ้านมาปลูกในป่าชุมชนเพื่อจะทำให้ป่าหนาขึ้น และชาวบ้านร่วมกันต่อต้านการบุกรุกป่าชุมชนทั้งคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น จึงทำให้การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้ ส่วนส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน. (2559). การส่งเสริมการจัดทำ “โครงการป่าชุมชน”.กรุงเทพมหานคร: กรมป่าไม้.

จินดารัตน์ สมคะเณย์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2553.). ป่าชุมชน ความหมายของ"ป่า"และ"ชุมชน". มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562. แหล่งที่มา: http://www.5provincesforest.com/index. php?lay=show&ac=article&ld=5387290 93&Ntype=1.

ทวีชัย ใจพร. (2552). การจัดการป่าชุมชนโดยชุมชน กรณีศึกษาป่าชุมชนดงบก บ้านโนนหนองสิม ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธิติ ศรีใหญ่. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ยุทธไชยันต์ พรหมนิกร. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนบนพื้นฐานการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนดงมัน จังหวัดยโสธร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2560). การจัดการทรัพยากรร่วมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง: ศึกษากรณีป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุชาวลี ชูเอน. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.