ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พิพิธธนวดี สมคะเณย์
จินดารัตน์ ยุทธษา
กมลพัฒน์ ไชยสงคราม
วิจิตร ศิริกิจ
ประยูร แสงใส

บทคัดย่อ

          เทศบาลตำบลหนองหิน  อำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นหน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน  แต่ในทางปฏิบัติงานจริงในการให้บริการต่าง ๆ กับประชาชนก็ยงคงพบปัญหาอีกมาก ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่ยังต้องแก้ไขปรับปรุงให้มีคุณภาพ มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในการให้บริการประชาชนในส่วนต่าง ๆ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชน จำนวนทั้งหมด 2,895 คน โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (Taro yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลวิจัยพบว่า ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.29, S.D. = 0.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ที่อยู่ในระดับมากได้แก่  ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต (  = 4.36, S.D.=0.42) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (  = 4.33,S.D.=0.31) และด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (  = 4.18.S.D.=0.3 1) ดั้งนั้น ทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลหนองหินอยู่ในระดับมาก เพราะทางเทศบาลมีการจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุเป็นประจำสม่ำเสมอทุกเดือน มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักป้องกันหรือระวังการเกิดโรคระบาดอย่างสม่ำเสมอ ระบบการผลิตน้ำประปามีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ในการใช้อุปโภค บริโภคอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีสถานที่ออกกำลังกาย และมีการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2559). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลวังดิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ณัฐพงษ์ สัมฤทธิ์เดชขจร. (2557). การจัดระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี: ศึกษาเฉพาะเขตอำเภอเมือง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

เบญจวรรณ วรรณทวีสุข. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิพิธธนวดี สมคะเณย์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิรดาภาส์ คาบุบผา. (2550). การศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัดด้านคุณภาพการให้บริการของเทศบาลในเขตจังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์. (2557). “ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น”. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 8-15 นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2559)

สุธินี เหรียญเครือ และพิษณุ เฉลิมวัฒน์. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 307-308.

สุนารี แสนพยุห์. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. รัฐศาสตร์การปกครองมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.