การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังและส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับประชาชน จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันยังไม่มีฐานข้อมูลที่แท้จริงของสถานการณ์การกระจายของกัญชาในพื้นที่และการรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายกัญชาและการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ของกลุ่มประชาชนและผู้ป่วยยังมีความคลาดเคลื่อน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้สุขภาพเรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์ของประชาชนจังหวัดนครนายก พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ต่อการใช้กัญชาอย่างถูกต้อง และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ต่อการใช้กัญชาอย่างถูกต้อง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวิจัยกึ่งทดลอง ออกแบบการวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง สถานที่ศึกษาประกอบไปด้วย สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ สาริกา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหัวลิงใน จังหวัดนครนายก ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 – กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงผ่านเกณฑ์คัดเลือก จำนวน 120 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องความรอบรู้สุขภาพด้านกัญชาของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความรอบรู้สุขภาพด้านกัญชามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์เสรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.medcannabis.go.th/blog/สายพันธุ์กัญชา
พิมพ์พิสาข์ จอมศรี และคณะ. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้องในประชาชนจังหวัดเชียงราย. แผนงานศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุพัชรินทร์ สุวรรณเกิด. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านกัญชาทางการแพทย์ของประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระดับตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์. ปริญญามหาบัณฑิต.คณะเภสัชศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565). กัญชา กัญชง พืชสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ #ใช้กัญชาอย่างเข้าใจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://plookganja.fda.moph.go.th
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2566). SKYNET DIGITISING FDA THAI. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ.2566. แหล่งที่มา: https://privus.fda.moph.go.th
อภิญญา สินธุสังข์ และ พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อการใช้กัญชาของประชาชนในเขตภาคเหนือ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26 (2), 190-203.
อิสรภาพ มาเรือน และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้และความตระหนัก ของผู้สูงอายุต่อผลกระทบของการใช้สารเสพติดประเภทกัญชา โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.). กรุงเทพมหานคร.
อุษณีย์ เอกสุวีรพงษ์. (2565). สถานการณ์การครอบครองกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ใน จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 20 (1), 66-76.
Emily Jenkins, Tania Dearden, Ana Figueras, Liza McGuinness, Alayna Ewert & Rebecca Haines-Saah. (2023). Cannabis education resources for parents: an environmental scan and critical content analysis in the context of legalization. Drugs: Education, Prevention and Policy. 30 (2), 124-140. DOI: 10.1080/09687637.2021.2002815
Park, S.-Y., Yun, G. W., Constantino, N., Ryu, S. Y., Fred, D., Jennings, E., & Duenas, K. (2020). Health Information Literacy-Focused Marijuana Intervention for College Students: A Pilot Study of a Group-Oriented Universal Program. Journal of Alcohol and Drug Education. 64 (1), 33–51. https://www.jstor.org/stable/48638187