การส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

Main Article Content

วทัญญู สุขประวิทย์
นารีรัตน์ สีระสาร
บําเพ็ญ เขียวหวาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 2) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 4) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 261 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 158 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59.15 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประสบการณ์ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 27.50 ปี พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 25.50 ไร่ แรงงานที่ใช้ในการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 2.20 คน ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 7,738.29 บาท/ไร่ รายได้จากการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 12,760.12 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรทั้งหมดปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอร่า  สภาพดินปลูกเป็นดินร่วน เตรียมการก่อนการปลูกโดยการกำหนดระยะปลูก 9×9 เมตร ใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ใช้น้ำฝนเป็นหลัก เก็บเกี่ยวด้วยวิธีการนับอายุและการจำหน่ายกับลานเท 3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่การสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิต และ 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่ด้านการจำหน่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2547). เอกสารวิชาการปาล์มน้ำมัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: http://lib.doa.go.th/multim/e- book/EB00028.pdf

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2567 ของกรมส่งเสริมการเกษตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://d29iw4c1csrw3q.cloudfront.net/wp- content/uploads/2023/02/actionplandoae67-1.pdf.

โครงการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. (2564). คู่มือเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน. องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน.กรุงเทพมหานคร.

ชัยวัฒน์ สาวเจริญสุข. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-2567: อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา : https://www.krungsri.com/ th/research/ industry/industry-outlook/agriculture/palm-oil/IO/Oil-palm-industry-2022-2024

นพพร ชุบทอง, สุวิสา พัฒนเกียรติ, พัฒนา สุขประเสริฐ และ รุจีพัชร บุญจริง. (2558). การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (3), 53-63.

ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์ และพลากร สัตย์ซื่อ. (2563). ความต้องการความรู้ในการทำสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยในจังหวัดสตูล. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 14 (2), 1-24.

ศรราม แก้วตาทิพย์. (2563). การศึกษาศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในตำบลสวนหลวง

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ

ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2564). ระบบฐานข้อมูลและให้บริการข้อมูลการค้าเกษตรต่างประเทศของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: http://impexp.oae. go.th/service/export.php?S_YEAR=2564&E_YEAR=2564&PROD UCT_GROUP=5255&wf_search=&WF_SEARCH=Y (5 พฤษภาคม 2566 ).

สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ. (2566). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2566. เอกสารรายงาน. สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ. ชุมพร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันในพื้นที่โครงการ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. เอกสารงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ 118. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://คิดค้า.com/งานวิจัย-สศก-เรื่อง- การศ-2/

โสเพ็ญ เสริมผล. (2562). แนวทางการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันตามหลักการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของ เกษตรกร อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช