ปัจจัยด้านสมรรถนะของพนักงานขับรถที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทย มีการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิถูกพัฒนาและนำมาใช้มากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาคุณภาพและลดอัตราการเสียของสินค้า และที่สำคัญคือการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมินั้นต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ขับเคลื่อนยานพาหนะไปส่งตามที่อยู่ของลูกค้าดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ปัจจัยด้านสมรรถนะของพนักงานขับรถ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบออนไลน์ มีค่าอยู่ IOC เท่ากับ 1.00 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ด้านระดับการศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ 2) ปัจจัยด้านสมรรถนะของพนักงานขับรถ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเอง ด้านบุคลิกประจำตัวบุคคล และด้านแรงจูงใจหรือแรงขับเคลื่อนภายใน ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details
References
กรมขนส่งทางบก. (2563). โครงการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมขนส่ง การผลิต และการกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) เพื่อการส่งเสริมการขนส่งทางถนนให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา http://roadsafefund.dlt.go. th/index.php?option=com_content&view= article&id= 411&Itemid=203
กมลมาลย์ แจ้งล้อม. (2562). จับเทรนด์ Cold Chain Logistics บริการไหนรุ่ง. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.scbeic.com/th/detail/product/5792
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การจัดการโซ่ความเย็น การพัฒนาระบบโซ่ความเย็นในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11222
ฐาปนา บุญหล้า. (2555). การจัดการโลจิสติกส์ : มิติซัพพลายเชน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐวัฒน์ ศรีรอด, ชุลีวรรณ โชติวงษ์ และจุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์. (2564). ปัจจัยสมรรถนะที่สัมพันธ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มปฏิบัติการสาขาที่ผ่านการอบรมในรูปแบบ E-Learning กรณีศึกษา บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม. 1 (1), 54-63.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร. (2562). การจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
นริศรา วัฒนศัพท์. (2564). สมรรถนะของนักบัญชีที่มีอิทธิพลต่อปัญญาประดิษฐ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพ์นิภา ฤทธิบุตร. (2566). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลบ้านกลาง จังหวัดปทุมธานี, วารสารสหวิทยาการพัฒนา. 2 (1), 83-95.
สถิตย์ มีสิทธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์การบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก
สำนักงานพัฒนาการสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2516-2580. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา http://nscr.nesdc.go.th/ns/
ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา และ ลักษมี งามมีศรี. (2561).สมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเซน. 4 (2), 32-46
อัญชลี ชัยศรี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการ มจร.บุรีรัมย์. 5 (2), 234-248.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.) London: Sage.
Grand View Research. (2023). Cold Chain Market. ออนไลน์. สืบเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.thaitextile.org/th/insign/
McCleland, D. Testing for Competence Rather than for Intelligence. American Psychologist. 28 (1), 1-14.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.