การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ชนะชน ประวันนา
สิทธิพล อาจอินทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 20 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผล ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจร แบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมท้ายวงจร 3) เครื่องมือประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ย 12.75 คิดเป็นร้อยละ 79.69 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 95.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีผลการประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านเกณฑ์ระดับ 9 สามารถขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วาทโยธา และสุมาลี ชัยเจริญ. (2562). ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 12 (2), 499-518.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2563). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทยที่หายไป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.altv.tv/content/thaipbskids/5f6188f917d8e5bbee 2401a1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). Competency - based Education โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://cbethailand.com

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกิจวัตน์ จันทร์ดี. (2558). คู่มือการออกแบบการสอนสตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://blog.eduzones.com/wiriyah/149091

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 11 (1), 14-15.

วุฒิชัย ภูดี. (2564). การพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาแบบ 6E ร่วมกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 6 (1), 105-119.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: http://taamkru.com/th.

ชลธิชา ชิวปรีชา. (2554). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยใบตอง. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Intelligence. New York: McGraw – Hill.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.