การใช้ระบบการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของเทศบาลตำบลหนองหว้า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธัญรัตน์ จันโทพลัง
พัฒนพงศ์ โตภาคงาม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการนำระบบการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในเทศบาลตำบลหนองหว้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Approach) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการขออนุญาตก่อสร้าง และประชาชนในเขตเทศบาลฯ จำนวน 226 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ร่วมกับแบบสอบถาม ร่วมกับแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของบุคลากรและของประชาชน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA
          ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรในเทศบาลฯ มีความเข้าใจต่อระบบการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับต่ำ แต่มีความคาดหวังต่อระบบการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรอยู่ในระดับสูง ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มประชาชนก็มี ความรู้ ความเข้าใจต่อการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนอยู่ในระดับต่ำที่สุด ทักษะทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความคาดหวังต่อระบบการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการขออนุญาตก่อสร้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การขออนุญาตก่อสร้างต่างกัน ส่วนในกลุ่มบุคลากรพบว่า ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2552). คู่มือกฎหมายควบคุมอาคาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER018/ GENERAL/GENERAL/DATA0000/00000251.PDF

เทศบาลตำบลหนองหว้า. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://nongwa-ud.go.th/?page_id=4914

ธราภร อนุเวช. (2563). การใช้ระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) ของบุคลากรวิทยาลัยการเมือง การปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. 10 (3), 228-241.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2562). การบูรณาการศูนย์กลางการบริการภาครัฐ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อภาคธุรกิจ: ระบบ Biz Portal. วารสารและจุลสารของวุฒิสภา (ส.ค. 2562). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/previewer.php

พิชญาย์ภร ปรวิเขียวสุดตา และ ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://kowdum.com/article/fileattachs/ 28062021085434_f_0.pdf

พรเทพ พัฒธนานุรักษ์ และคณะ. (2562). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี 2562. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มานิตย์ กุศลคุ้ม. (2562). ความพร้อมต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรมหาวิทยาลัย

ราชภัฏธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 13 (2),173-183.

เรวัต แสงสุริยงค์. (2562). บนเส้นทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไทย: ยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 27 (55). 294-317.

วรรณมาฆะ เกสรดอกไม้ และณัฐชัย นิ่มนวล. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ให้แก่ประชาชนในเขต จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร. 9 (5), 2064-2073.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://infocenter.nationalhealth.or.th/ Ebook/NationalStrategy/book.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2564 (ไตรมาส2). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.nso.go.th/sites/ Survey/ICT/Survey%20In%20Household/2021/fullreport_64_q2.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนการปฏิรูปด้านการบริหารราชการ แผ่นดิน ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/RF_Plan02.pdf

อาภรณ์ คุระเอียด. (2562). การประยุกต์ใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในการให้บริการภาครัฐ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11 (1), 191-208.

Neuman, W. L. (2003). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.