รูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของครูและบุคลากรทางการศึกษา: ผู้บริหารสถานศึกษา สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

Main Article Content

พณกฤษ บุญพบ
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ชูศักดิ์ เอกเพชร
นพรัตน์ ชัยเรือง
ธนเทพ นำพรวัฒนากุล
นฤภร ธิติประเสริฐ
สุบรรณ์ เกราะแก้ว
สันต์ติ เกราะแก้ว

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1.วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2.พัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3.กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและขับเคลื่อนให้กับผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ ตามระเบียบวิจัยการออกแบบการวิจัยและพัฒนา จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัย เพื่อให้ได้องค์ประกอบและนำมาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโดยการจัดสนทนากลุ่ม จากนั้นนำรูปแบบมาตรวจสอบยืนยันรูปแบบในวิธีการวิจัยเชิงอนาคต โดยใช้การจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ          จากผู้ทรงคุณวุฒิทางการจัดการศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสม และความถูกต้อง พร้อมทั้งประชุมเพื่อกำหนดคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อนำไปใช้จริงให้กับผู้บริหารสถานศึกษาต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1.พบองค์ประกอบจากการวิเคราะห์สังเคราะห์จากการถอดบทเรียนอบรมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 7 หน่วยการเรียนรู้ 2.เมื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบจากการจัดสนทนากลุ่มและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารสถานศึกษาในการพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ การพัฒนาและการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ และการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา ซึ่งรูปแบบทั้งหมดมีความเหมาะสม ความถูกต้อง 3.และจากการนำเข้าประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่ประชุมได้กำหนดคู่มือในการนำมาใช้ปฏิบัติจริงกับผู้บริหารได้ทั้ง 7 แนวทาง ในการพัฒนาสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19 (1), 11-28.

กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ว่าที่ร้อยตรี ชสิทธิ์ภิวัฒน์. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 6 (1), 51-62.

ศิวะลักษณ์ มหาชัย, เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม. 5 (2), 168-185.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (2566). โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา.