การเสริมสร้างคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 3) เปรียบเทียบระดับคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษ ที่ 21 ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 351 คน และสุ่มแบบเจาะจงกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า แบบวัดเชิงสถานการณ์ โดยมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.876 และ 0.895 ตามลำดับ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านมนุษยสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านคุณธรรมจริยธรรม และ ด้านบุคลิกภาพ ตามลำดับ ส่วนด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ผู้วิจัยที่ได้พัฒนา มีองค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมายของรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ และผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนการสอนตามรูปแบบ
3. คุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครูหลังการจัดกิจกรรมด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). กฏกระทรวงมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.mhesi.go.th/ images/2565/T_1390028.PDF
ณฤดี เนตรโสภา (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยเทคนิคคำถาม R-C-A. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/113200
ถนอมพร เลาหจรัสแสง และอุไรวรรณ หาญวงค์. (2553). การบูรณาการเทคโนโลยี e-learning ประเภทเกมในชั้นเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://thanompo.edu.cmu. ac.th/load/journal/50-51/Integrating%20GameBased.pdf.
นัฐตยา พงษ์เสือ. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ประทวน คล้ายศรี. (2560) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัย ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พัฒนะ พิพัฒน์ศรี. (2563) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การเขียนโปรแกรม KidBright สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแก้ปัญหาร่วมกันและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนชิดา ภูมิพยัคฆ์, ทวี สระน้ำค้า และ ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการเรียนร่วมกัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11 (1), 38-47.
มัสยา เรืองนาราบ. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในทศวรรษหน้าในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลัดดาวรรณ จันทร์ใหม่, ประกอบ ใจมั่น และ กรวรรณ สืบสม. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมที่สร้างเสริมความมุ่งมั่น แน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 19 (2), 56-65.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วีถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ.(2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ; กรณีนานาทัศนะการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของครูในอนาคตที่มีต่อการศึกษาแบบเรียนรวม. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. 7 (2), 93-106.
สมบัติ นพรัตน์. (2553). ครูยุคใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http:/www.moe. go.th/moe/th/news/detail. hp?NewsID=21846&Key=hotnews
สุกัญญา พลวิก. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานวิชาโครงการระดับประกาศนีย บัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครศรีธรรมราช. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช.
สุเทพ ธรรมะตระกูล. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของครูยุคใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม และคณะ. (2558) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร. 42 (ฉบับพิเศษ), 129-140.
อลงกรณ์ อู่เพ็ชร. (2560). ผลการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสานที่มีต่อความสามารถในการทางานกลุ่ม วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Allen. I. E. and Seaman. J. (2007). Growing by Degrees: Online education in the United States, The Sloan Consortium. Online. Retrieved from: http://www.sloanc.org/publications/ survey/ pdf/growing_by_degrees.pdf.
Carman, J. M. (2006). Blended Learning Design: Five Key Ingredients. Online. Retrieved from: http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20Learning%20Design.pdf
Horn. B.M. and Staker. H. (2011) The Rise of K-12 Blended Learning. Mountain View, CA . : Innosight Institute.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
Oliver, M., & Trigwell, K. (2005). Can “Blended learning” be redeemed? ELearning. 2 (1), 17-26.
Wichean Intarasompan, and Jittawisut Wimuttipanya (2021). A quality in education of lower central network school with coaching and mentoring pass online system. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12 (8), Retrieved from https:// turcomat.org/index.php/turkbilmat/article/view/3819