ผลการใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่มีต่อความรู้และทักษะงานหัตถกรรมจากกกย้อมสีธรรมชาติ ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงงานหัตถกรรมจากกกย้อมสี ธรรมชาติ 2) ศึกษาผลการใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่มีต่อความรู้และทักษะงานหัตถกรรมจากกกย้อมสีธรรมชาติ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างการใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่มีต่อความรู้และทักษะงานหัตถกรรมจากกกย้อมสีธรรมชาติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจการใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่มีต่อความรู้และทักษะงานหัตถกรรมจากกกย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ สมาชิกกลุ่มทอเสื่อกกบ้านท่าดินดำ จำนวน 30 คน และเด็กและเยาวชนที่เรียนอยู่ในโรงเรียน บ้านท่าดินดำ อายุตั้งแต่ 9 – 16 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่มย่อย แบบทดสอบวัดผสัมฤทธิ์ แบบทดสอบทักษะปฏิบัติ แบบประเมินความพึงพอใจ สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.85 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 ค่าความยากง่าย 0.42-0.78 ค่าอํานาจจําแนก 0.21-0.73 หาประสิทธิภาพสื่อ E1/E2 ตามเกณฑ์ 80/80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของสื่อที่พัฒนาขึ้น ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดี ( = 4.36) และด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (= 4.40) ผลการใช้สื่อโดยการหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่มีต่อความรู้และทักษะงานหัตถกรรมจากกกย้อมสีธรรมชาติ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 88.44 / 89.43 เปรียบเทียบความแตกต่างการใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่มีต่อความรู้และทักษะก่อนและหลังเรียน พบว่าก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 4.32 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ 26.83 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความ พึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61)
Article Details
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
ทิพย์ธิดา ดิสระ. (2562) .พัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พัฒนา นรมาศ. (2563). คนลพบุรีทอเสื่อกก ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมรายได้ครัวเรือน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/N5I2M
พิชิต จรูญฤทธิ์. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ออฟเตอร์มิสท์.
วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (9), 374-386.
วิภา อุตมฉันท์. (2544). การผลิตสื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์ : กระบวนการสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิต. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https:// shorturl.asia/b8haq
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2560). แนวทางจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University. 10 (2), 2843-2854.
สุนทรี มนตรีศรี. (2562). ศึกษาเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง การสร้างงานแอนิเมชั่น สำหรับนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุรพล บุญลือ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ฮานูณา มุสะอะรง, กาญจนารัศมิ์ และดารารัตน์ ดำรงฤทธิ์. (2564). สื่อการเรียนรู้ความจริงเสมือน เรื่อง ดนตรีบานอโดยใช้ เทคโนโลยีเสมือนจริง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Seels, B. & Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions. (2nd. ed.). OH: Columbus. Prentice Hall.