ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

          ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า จุดอ่อน อาทิ ด้านคุณภาพการศึกษา ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน บางรายวิชายังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจจะเกิดผลกระทบการจัดการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร 2) สมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษาและ 4) ตัวแปรทำนายภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน  329 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมพันธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
          ผลการวิจัยพบว่า  1)  ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  3)  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง และ 4) ตัวแปรทำนายภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษาพบว่า  มี  5  ตัวแปรที่ทดสอบแล้วมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01  เรียงตามลำดับ คือ ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผลด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงานและด้านการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัลมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ  79.40


         


              

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตชาติ กุดนอก, ไชยา ภาวะบุตร และ เพ็ญผกา ปัญจนะ. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิรพล สังข์โพธิ์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทศพล สุวรรณราช และชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7 (3), 160-177.

สาวิตรี ฉายจิตต์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6 (1), 248-257.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี พ.ศ.2566-2570. ขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2563). ข้อมูล BIG DATA. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.kkzone1.go.th/2023/home

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2560). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุกัญญาแช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชญา โกมลวานิช, สิทธิชัย สอนสุภี, บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์ และ เกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ออระญา ประภาวะเต และ บุญชม ศรีสะอาด. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2มหาสารคาม. Journal of Modern

Learning Development. 6 (4),191-200.

Center for Advanced Study of Technology Leadership in Education (CASTLE). (2009). Principal Technology Leadership Assessment. Online. Retrieved form https://school techleadership.org.January 23th2023

Elloitt T. (2017). Digital Leadership: A Six-Step Framework For Transformation. Online. Retrieved from https://1th.me/ZQPLH. 20th2023

Syahid, A.A., Hernawan, A.H.,and Dewi, L.(2023). Teacher competencies in the digital era for learning in elementary schools. AIP Conference Proceedings. 2805 (1), 1-5.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.Tokyo: Harper International Edition.