ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีสภาวการณ์การแข่งขันที่สูง และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว องค์กรจำเป็นต้องมีการปรับตัวทั้งในด้านโครงสร้างกลยุทธ์ วัฒนธรรมองค์กรและวิธีการจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง หากองค์กรใดให้ความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานและปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยเชิงปริมาณนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานและปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน ในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเอกชน ในจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน ในจังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน ในจังหวัดสงขลา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ ตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการทำงานที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน ส่วนเพศและสถานภาพสมรสไม่แตกต่างกัน และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2560). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท ทีโอทีจำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. วารสารวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. 3 (2), 29-43.
ชัยวุฒิ เทโพธิ์. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 14 (1), 251-265.
ณธัชพงศ์ พิสิษนุพงศ์. (2561). สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความผูกพันองค์กร ของข้าราชการและบุคลากรสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. 1 (1), 64-78.
นิตยา ขันสันเทียะ. (2561). การปฏิบัติงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
ปัทมาพร ท่อชู. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา:http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=771§ion=17&issues=7
พีระพัฒน์ สมศรี. (2564). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของกรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 18 (1), 172-183.
โสรยา สุภาผล และคณะ. (2564). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10 (2), 211-225.
สุกริน ทวีสุต. (2562). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน ของบุคลากรเทศบาลนครหาดใหญ่. สารนิพนธ์รัฐปศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.
สุรพงษ์ ฉันทพัฒน์พงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานสาย เทคโนโลยีของธนาคารแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่ม อุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.) London: Sage
Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Peterson, E. and Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. Irwin.