ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ของกาเย่ร่วมกับการใช้แนวคิดเทคโนโลยีเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ภัทศุริญโญ อินไชยา
จักริน ด้วงคำ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา  สุขศึกษาก่อนการทดลองและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 60 คน กลุ่มทดลอง 30 คน และ กลุ่มควบคุม 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.93 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93, 0.98, 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติกรณ์ แกมใบ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามขั้นสูงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและการคิดเชิงระบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. ครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา ผาสุข. (2564). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://phichit1.go.th.

ผุสดี ขำทอง. (2562). ประสิทธิผลของรูปแบบในการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดของกาเย่ เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการศึกษาพิเศษ. ศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072 /568683.

วชิรวิทย์ ช้างแก้ว. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. ครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ศิริอรรถ. (2562). ผลการจัดการเรียนสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. ครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). นักเรียนที่ศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.obec.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ทักษะในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.moe.go.th/search-result?_sf_s=.

วิลาวัณย์ พรพัชรพงศ์. (2560). การศึกษาความต้องการบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36 (5), 151-160.

กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (2562). การใช้เทคโนโลยีเว็บ2.0 ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี โครงสร้างนิยม. วารสารศึกษาศาสตร์. 30 (3), 3-13.

จิรวัฒน์ วงศ์ชุมภู. (2562) ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อทักษะกีฬาแฮนด์บอลและการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความเป็นวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน. วารสารมนุษยสังคมสาร. 20 (2), 90–110.

ทิวาพร อรรคอำนวย. (2565). ศิลปศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 12 (3), 148-158.

ธีรวัฒน์ กัดมั่น. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามรูปแบบแนวคิดของกาเย่ รายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8 (1), 34-45.

อาจณรงค์ มโนสุทธิ์ฤทธิ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานสำหรับครูประจำการด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/ 1234567890/4453.

Akrivi Krouska. (2022). Mobile game-based learning as a solution in COVID-19 era: Modeling the pedagogical affordance and student interactions. Education and Information Technologies. 27 (1), 229–241.

Robert Gagne. (1916). Learning theory, educational media, and individualized instruction. Journal of Academy for Educational Development, Washington, DC. 56 (1), 1-22.

Samuel Kai Wah Chu. (2021). 21st Century Skills Development Through Inquiry-Based Learning. Hong Kong: Theory to Practice.

Tria Amalia. (2023). Effectiveness Implementation of Gagne's Learning Theory with Combination Problem-Solving Approach to Ability Think Critical Student. MEJ (Mathematics Education Journal). 7 (1), 31-46.

Wei-Ling Tang. (2020). Inheritance Coding with Gagné-Based Learning Hierarchy Approach to Developing Mathematics Skills Assessment Systems. MDPI Open AccessJournals. 10 (4), 1465.