การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 – 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ
ศิวกร รัตติโชติ
ลาวัลย์ พิชญวรรธน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรปัจจัย
ที่ส่งผลต่อผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 – 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2561 – 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ครูจำนวน 2,112 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2,112 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และวิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Center Competencies) ปัจจัย
ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน (Classroom Climate) ปัจจัยด้านเจตคติต่อการบริหารงานวิชาการ (Academic Administration Attitude) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา (Academic Leadership) และปัจจัยด้านบรรยากาศในโรงเรียน (School Climate) และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 – 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) โมเดลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 – 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ
(Chi-Square = 290.388 df = 132 มีค่าความน่าจะเป็น (p) = 0.00 ค่าดัชนี CFI = 0.995 ค่าดัชนี TLI = 0.994 และค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) = 0.022) และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา
2561 – 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร้อยละ 77

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์กรมศาสนา.

เกวลิน บุญทวี. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จำเนียร แจ่มอำพร. (2557). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์. 9 (1), 166-175.

เจนภพ ชัยวรรณ, ถนอมวรรณ ประเสริฐ เจริญสุข, และ ภัทราวดี มากมี. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิง สาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาล สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. Journal of Educational Administration Khon Kaen University. 12 (2), 182-194.

ชัยมงคล บุญชัย. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนยุคประเทศไทย 4.0. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ค.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

ทศพร จันทนราช และคณะ. (2556). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทรงศักดิ์ ดีจริงตระกูล. (2546). ความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่มีการจัดการเรียนสาขา ธุรกิจใน เขตห้วยขวาง สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปนิดา ทวีชาติ.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต28. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23 (1), 143-153.

ประภาภรณ์ วงค์แพทย์. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Humanities and Social University of Phayao. 2 (3), 42-56.

พอนสี เวทะนา. (2561). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมสมบูรณ์ศึกษาปีที่ 7 อำเภอชัยทานี นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 6 (2), 63-83.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการ เรียนการสอนแบบบูรณาการ. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์.

พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4 (1), 50-59.

เลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษา แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2562 : บทสรุป และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อรุณี ราชพัฒน์.(2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Bettey, T. and Herrou, A. (2004). School Climate and Learning. Best Practices Brief.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha. An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology. 78 (1), 98 – 104.

Hall, S. (1982). The classroom climate: A chilly one for woman. Wahington D.C.: Association of American Colleges.

Hirschy, A. S., & Braxton, J. M. (2004). Effects of student classroom incivilities on students. New Directions for Teaching and Learning, 2004 (99), 67-76

Lendis, E.I. (2014). Teaching in a 21st Century Educational Context: A Case Study to Explore the Alignment between Vision, Instruction and the Needs of the 21st Century Workplace. Duquesne University.

Zulling, K. J., Koopman, T. M., Patton, J. M., & Ubbes, V. A. (2010). School climate: Historical review, instrument development, and school assessment. Journal of Psychoeducational Assessment. 28 (2), 139-152.