การสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต ของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นิวัฒน์ สาระขันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูล สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) สร้างรูปแบบการแก้ปัญหาผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ประเมินผลรูปแบบการแก้ปัญหาผู้สูงอายุ ในชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่มย่อยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นผู้นำชุมชน ผู้นำทางภูมิปัญญาเจ้าอาวาสผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานีอนามัยตำบล  และ สมาชิกชมรม สมาคม ผู้สูงอายุในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จากการใช้ตาราง Krejcie และ Morgen (บุญชม ศรีสะอาด, 2548) จำนวน  1,371 คนโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ส่วนการทดลองใช้รูปแบบใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยใช้กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลนามนเป็นกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า เฉลี่ยเลขคณิต (X)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีแนวโน้มของปัญหาที่รุนแรงขึ้นในอนาคต 5-10  ปีข้างหน้าได้แก่ จำนวนผู้สูงอายุที่เป็นภาระพึ่งพิงจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16 พบว่าปัญหาของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักคือ ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาการศึกษา 2) สร้างรูปแบบการแก้ปัญหาผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลักคือซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสรรหา (Allocation: A)  กิจกรรมพัฒนา (Development: D)  กิจกรรมรักษาไว้ (Maintenance: M)  และกิจกรรมใช้ประโยชน์ (Application: A)  โดยการมุ่งให้เกิดสติและปัญญา โดยเป็นเสาหลักให้กับชุมชนที่เรียกว่าคลังภูมิปัญญาผู้สูงอายุ 3) การประเมินผลรูปแบบการแก้ปัญหาผู้สูงอายุ ในชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งพบว่ารูปแบบการแก้ปัญหาผู้สูงอายุ สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้สูงอายุและครอบครัว กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ (2564). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ.2562-2566. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์. (เอกสารอัดสำเนา)

สายรุ้ง เลาไชย. (2558). ภาวะสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุจินต์ ดาววีระกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัดของจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.