รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์ หลักทรัพย์ทางเทคนิคสำหรับนักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูง

Main Article Content

ศกลวรรณ พาเรือง
ธิติ ธาราสุข

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ        1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ร่วมกับการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมที่เสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคของนักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูง และ 2.ปัจจัยเงื่อนไขของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมที่เสริมสร้างความสามารในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคของนักลงทุนกลุ่มประสบการณ์สูง กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ กลุ่มนักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูง จำนวน 6 คน ใช้วิธีการจัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคสำหรับนักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูง เพื่อศึกษาข้อมูลที่สำคัญใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ความสามารถในการจดจำนิยามและทฤษฎี  2) ความสามารถในการอธิบายทฤษฎีตามความเข้าใจของตนเอง 3) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับกราฟจริง 4) ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปผล การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ ผลการทำกิจกรรม การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา
          ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ร่วมกับการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมที่เสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคของนักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูง พบว่า นักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูงมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีร่วมกับกราฟจริง และสามารถวิเคราะห์และสรุปผลได้ และ 2.ปัจจัยเงื่อนไขของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมที่เสริมสร้างความสามารในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคของนักลงทุนกลุ่มประสบการณ์สูง พบว่า ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความเหมาะสม ส่วนเงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ ด้านบุคคล หมายถึงความพร้อมของผู้เรียน ด้านประสบการณ์ จะทำให้เกิดบทบาทที่แตกต่างกันในกลุ่ม ด้านเวลา ผู้เรียนจะต้องมีเวลาในการเรียนรู้ ด้านปัญหาส่วนตัวของผู้เรียน และ คุณสมบัติของผู้สอน ที่จะทำให้ผู้เรียนเปิดใจและยอมรับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนัสวาสน์ โกวิทยา. (2551). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้นำเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2542). กระบวนการฝึกอบรมสำรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of Education objectives. New York: David Mckey Company.

Bumen, T.N. (2007). Effect of the Original Versus Revised Bloom’s Taxonomy on Lesson Planning Skills: A Turkish Study Among Pre-Service Teachers. Review of Education, 53, 6.

Burman, A.C. (1969). Creative Adult Learning in Burrichter. Illinois: Dekalb.

Smith, R.M. (1982). Learning How to Learn. Chicago. Illinois: Follet Pubshing Company.

Sottile, J. (2000). The impact of an experiential instructional design on college student development. Moorhead: Minnesota State University Press.

Warfield, S. (2023). Enhancing leadership through the experiential learning. Online. Retrieved August 19, 2023. From http://www.tedi.ug.edu.au.