การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยการคิดเชิงระบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค สำหรับนักลงทุนหุ้นในประเทศไทย

Main Article Content

ธิติ ธาราสุข
ศกลวรรณ พาเรือง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยการคิดเชิงระบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคสำหรับนักลงทุนหุ้นในประเทศไทย และ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขของการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยการคิดเชิงระบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคสำหรับนักลงทุนหุ้นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ กลุ่มนักลงทุนหุ้นกลุ่มประสบการณ์สูง จำนวน 15 คน ใช้วิธีการจัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคสำหรับนักลงทุนหุ้น เพื่อศึกษาข้อมูลที่สำคัญใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ความเข้าใจปัจจัย  2) การวิเคราะห์ปัจจัย 3) การเชื่อมโยงปัจจัย และ 4) การมองภาพรวมของแต่ละปัจจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ ผลการทำกิจกรรม การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา
          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาพบว่านักลงทุนหุ้นมีความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคอยู่ในระดับอธิบายความหมายของแต่ละปัจจัยในเชิงเดี่ยวได้ แต่ยังไม่สามารถแปลความหมายตั้งแต่ 2 ปัจจัย ขึ้นไปได้ ซึ่งในขั้นการออกแบบการเรียนรู้ผู้วิจัยใช้การคิดเชิงระบบร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง ซึ่งมีแผนการเรียนรู้จำนวน  5 แผน ผลการทดลองตามการออกแบบการเรียนรู้พบว่า นักลงทุนหุ้นมีความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคตั้งแต่ 2 ถึง 4 ปัจจัย โดยมีปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอน กิจกรรม เนื้อหา ระยะเวลา มีความเหมาะสม ส่วนเงื่อนไขของการนำโปรแกรมไปใช้ ด้านผู้เรียน ต้องทุ่มเทและตั้งใจทั้งระหว่างฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ด้านผู้สอน ต้องเข้าใจผู้เรียนและถ่ายทอดความรู้ และยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย เป็นขั้นตอน ด้านระยะเวลา ต้องมีความยืดหยุ่นและให้เวลาผู้เรียนอย่างเต็มที่ เงื่อนไขด้านแหล่งความรู้และสื่อการสอน ควรมีความหลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย เงื่อนไขด้านการวัดและประเมินผล ต้องใช้การประเมินแบบ 360 องศา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวี โพธิสุธา. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธิติ ธาราสุข. (2566). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักลงทุนหุ้นในประเทศไทย. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (5), 49-65.

นลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12 (2), 92-105.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอส.พริ้นติ้ง ไทยแฟคตอรี่.

บัวลักษณ์ เพชรงาม. (2565). การพัฒนาการคิดเชิงระบบที่จัดการเรียนรู้การเรียนรู้ดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (7), 207-224.

พัชรี นาคผง. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังก้างปลาร่วมกับเฟซบุ๊คที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาโครงงานของนิสิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Alsaleh., Nada J. (2020). Teaching Critical Thinking Skills: Literature Review. Turkish Online Journal of Educational Technology. 19 (1), 21-39.

Basori. (2017). The Influences of Problem-Based Learning Model with Fishbone Diagram to Student’s Critical Thinking Ability. Indonesian Journal of Informatics Education. 1 (2), 83-91.

C., Kriengsak. (2019). Analytical thinking. Bangkok.

Charles H. Dow. (1920). Scientific Stock Speculation. Magazine of Wall Street.

Elder, L., & Paul, R. (2010). The Thinker’s Guide to Analytic Thinking. Dillon Beach, CA: The Foundation of Critical Thinking.

Hanzalah (2021). Critical Thinking Skills in Education: A Systematic Literature Review. International Journal of Research in Business and Social Science. 11 (11), 198-201.

Schraw, G., & Dennison, R. S. (1994). Assessing Meta-Cognitive Awareness. Contemporary Educational Psychology. 19 (1), 460-475.

Senge, P. (1993). The fifth discipline: The art & practice of learning organization. London: Century Business.

Sweeney. (1996). Thinking about systems: “student and teacher conceptions of natural and socialsystems.” System Dynamics Review. 23 (2-3), 285-311.

Thiti & Eeleen (2019). Foresight in price movement: using unconventional Technical Analysis. Penang: Chart Master.

Woolfolk Hoy, A., and Hoy, W. K. (1990). “Prospective teachers’ sense of efficacy and beliefs about control.” Journal of Educational Psychology. 82 (1), 81-91.