การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพลวัตเพื่อการป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

สีใส ยี่สุ่นแสง
ศักดิ์ดา หอมหวล
จำเริญ มรฤทธิ์
ทวีศักดิ์ ทองบู่
นิติศาสตร์ พันธุ์เพ็ง
ประณิดา เลียวฤวรรณ์สืบ

บทคัดย่อ

           อุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์พบรายงานผู้เสียชีวิตสูงมากที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลเชิงพื้นที่และพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงในการป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน ในพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์์ ระหว่างปี พ.ศ.2562-2563 โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงพัฒนา ที่ประยุกต์ใช้รูปแบบ PAOR คือ วางแผน (Planning) ลงมือปฏิบัติ (Action) สังเกต (Observation) และสะท้อนผล (Reflection) จากนั้นทำการประเมินผลระบบสนับสนุนการตัดสินใจ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้ใช้งานในระบบ โดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า นักวิจัยสามารถรวบรวมและสร้างชั้นข้อมูลเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน 12 ชั้นข้อมูล ในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) และข้อมูลคุณลักษณะ (Attribute data) และพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 1 ระบบ ที่ทำงานบนแอปพลิเคชันไลน์ ในชื่อ “Acci-Bot” สำหรับจัดเก็บและรายงานข้อมูลเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงจุดเสี่ยงต่างๆ บนแผนที่ ระบุตำแหน่งพิกัด การถ่ายภาพ ณ ตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุ พร้อมบันทึกข้อมูลผู้ประสบเหตุ จากนั้นนำแอปพลิเคชันไปถ่ายทอดแก่ ผู้นำชุมชน ศปถ.ตำบลทุกแห่ง สถานศึกษา ผู้นำชุมชน และ อสม. มีการขับเคลื่อนระบบผ่านศูนย์ความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัด อำเภอ และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มีการแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ข้อมูลทุกเดือน  ทำให้ช่วยจัดการกับจุดเสี่ยงที่ได้รับแจ้งมาได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ ผู้ใช้มีความพึงพอใจระบบอยู่ในระดับมากที่สุด ผลลัพธ์หลังดำเนินงานพบว่าการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนมีแนวโน้มลดลง      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2563. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=73

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิ.ย. 2563. แหล่งข้อมูล: https://dip.ddc.moph.go.th/new/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการศึกษาระบบข้อมูลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัดเพื่อหาโอกาสพัฒนาโครงการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565. แหล่งที่มา http://thaincd.com/document/file/download/ knowledge /THAI Version.pdf

จตุพร ทิพยทิฆัมพร, เกศริน ขอหน่วงกลาง, และ ศศิธร พงษ์ประพันธ์. (2564). การประเมินระบบเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2562. วารสารควบคุมโรค. 48 (2), 321-331.

ศิริลักษณ์ ไทยเจริญ, สุรชาติ โกยดุลย์, และณัฐพิมล ณ นคร. (2565). นวัตกรรมระบบเฝ้าระวังป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน: แอปพลิเคชัน NST CCTV Alarm 4 U. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12 (1), 1-15.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2562). แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2561-2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา http://roadsafety.disaster.go.th/upload/

minisite/file_attach/196/5e8f159b2f84c.pdf

สมชาย ทองกระสัน. (2565). การพัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 9 (2), 114-129

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทาง

ถนนของประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base_status_new

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2562). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของ

ประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัทแฮนดี เพรส จำกัด.

สํานักงานสาธารณสุขอําเภอเมืองอุตรดิตถ์. (2562). เอกสารสรุปสถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

ทางถนนอําเภอเมืองอุตรดิตถ์. เอกสารอัดสําเนา. 2562.

องค์การอนามัยโลก. (2561). รายงาน GLOBAL STATUS REPORT ON ROAD SAFETY 2018. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2563. แหล่งที่มา https://www.sdgmove.com/2021/02/ 10/who-global-sttus-report-on-road-safety-2018/

Ariana Vorko-Jovic, Josipa Kern, and Zrinka Biloglav. (2006). Risk factors in urban road traffic accidents. Journal of Safety Research. 37 (1), 93-98.

German RR, Lee LM, Horan JM, Milstein RL, Pertowski CA, Waller MN. (2001). Guidelines Working Group Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Updated guidelines for evaluating public health surveillance systems: recommendations from the guidelines working group. MMWR Recomm Rep 2001; 50 (No. RR–13).

S. Gopalakrishnan. (2012). A Public Health Perspective of Road Traffic Accidents. Journal of Family Medicine and Primary Care. 1 (2), 144-150.

Sharifian S. et al. (2019). Challenges of establishing a road traffic injury surveillance system: a qualitative study in a middle-income country. Journal of Injury and Violence Research. 11 (2), 179-188.