รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทุนทางวัฒนธรรม แนวทางการจัดการทุนทางวัฒนธรรม และนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจำนวน 5 แห่ง/จังหวัด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา การตรวจสอบแบบสามเส้า จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมชุมชน ด้านการบริหาร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นเรื่องทุนทางวัฒนธรรมส่งผลอย่างไรในการพัฒนาและมีกระบวนการอย่างไรที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจในกับชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีข้อมูล Input คือ ชุมชนควรมีการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 หลัก “รู้ รัก สามัคคี” และนำทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ ได้แก่ วิถีชีวิตด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง ด้านการแต่งกาย ด้านอาหาร ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ และทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสไม่ได้ ได้แก่ วิถีชีวิตด้านภาษา ด้านพิธีกรรม ความเชื่อ ด้านศิลปะการแสดง และด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยมีการจัดการ Process คือ การอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรม การสืบสานทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน และมีกระบวนการดำเนินงานตามแบบ “Thai Song Dam” Output คือ ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการอนุรักษ์ สืบสานวิถีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไทยทรงดำ มีฐานเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่เข้มแข็ง และแบรนด์ Brand Image ไทยทรงดำ
Article Details
References
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2556). เทคนิคการสร้างเครื่องมือในงานวิจัย. เอกสารประกอบการบรรยาย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คทาเทพ พงศ์ทอง. (2560). ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหมากขาม และบ้าน
หมากม่วง*ในเขตเทศบาลตาบลไตรรัฐ ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาสังคมและและการจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ดาริน วรุณทรัพย์. (2561). รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใน
ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนาคณะวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2549). การสำรวจสถานะองค์ความรู้ และแนวทางการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2550). ชนชั้นนำในการเมืองไทยปัจจุบัน : การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำทุน
วัฒนธรรมตามแนวปิแอร์ บูร์ดิเออ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรณู เหมือนจันทร์เชย. (2557). ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดนครปฐม.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนธรรม, กระทรวง. (2553). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: http://www. m-culture.go.th/about.php?sub_id=1037.
วาสนา อาจสาลิกรณ์. (2561). วัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอเอสพริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สมบัติ เวชกามา และคณะ. (2552). กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมชุมชน : ศึกษากรณี จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 1 (2), 96-115.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2544). แผนที่ภาษาของชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเพื่อเสนอผลงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
Fonchingong, C., & Fonjong, L. (2003, May). The concept of self - reliance in community Development Initiatives in the Cameroon Grassfields. Nordic Journal of African Studies. 12 (2), 196-219.
Hoebel, E. A. (1966). Anthropology : the study of man. New York : /bMcGraw-Hill.