นโยบายภาครัฐในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 410 คน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ปราชญ์ชาวบ้านในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนส่วนใหญ่เข้ามาท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ คิดเป็นร้อยละ 48.78 และเข้ามาท่องเที่ยวช่วงเดือน ตุลาคม–ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 56.09 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้านการดึงดูดการท่องเที่ยว โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ได้แก่ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมโดยชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนให้โดดเด่นได้มาตรฐาน และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัลให้มีความทันสมัย
Article Details
References
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐกานต์ เพ็งหาพันธ์. (2554). การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เด่น ชะเนติยัง. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
เพียงกมล เกิดสมศรี และ ปรีชา พันธุ์แน่น. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ “ตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น” ประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 33 (1), 21-33.
สุวารีย์ ศรีปูณะ, มรรษพร สีขาวและรวีวรรณ สนั่นวรเกียรติ. (2558). การสร้างและพัฒนาสื่อการท่องเที่ยวประเภทเว็บไซต์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 10 (3), 31-37.
อนันต์ คติยะจันทร์, ชนะพล ดุลยเกษม และ สมพงษ์ แสนคูณท้าว. (2563). การอนุรักษ์ชุมชนกับวิถีชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ของชุมชนริมปากแม่น้ำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12 (1), 280-290
อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development. 7 (1), 83-92
Luang chan Duang. F. (2018). Sakkayaphap chumchon tonbaep kantho̜ngthieo choeng sangsan yang yangyun (The potential of role-model communities in sustainable and creativetourism). Ph.D. (Applied Economics) Maejo University.