การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย

Main Article Content

ศิพร โกวิท
จิรภัทร วรรณะธูป
ติณณภพ พัฒนะ
โสรัตน์ กลับวิลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทาง ขั้นตอน หลักเกณฑ์เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย 2) ทราบจำนวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่สมควรมีการทบทวนความเหมาะสม โดยจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายที่ควรมีการทบทวน เพื่อให้ได้ข้อเสนอในการดำเนินการว่าควรยกเลิก หรือแก้ไขปรับปรุง หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใด โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากประชาชนผู้เกี่ยวข้องหรือใช้บริการจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 556 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 60 คน และการสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 61 คน ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งในชั้นก่อนพิจารณา ระหว่างการพิจารณา และหลังการพิจารณา ทั้งหมด จำนวน 355 ฉบับ สำหรับประเทศไทยพบว่าการปรับปรุงกฎหมายภายใต้หลักการ 5Cs ได้แก่ Cut คือ การยกเลิก Change คือ การปรับปรุง Combine คือ การควบรวมกรณีที่ทับซ้อน Continue คือ การคงไว้เช่นเดิม Create คือ การสร้างกฎหมายใหม่กรณีที่จำเป็นภายใต้หลักการ 5Cs โดยวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่สมควรให้มีการทบทวนความเหมาะสม มีจำนวน 16 ฉบับ จากจำนวน 355 ฉบับ เนื่องจากเป็นเวลานานจนไม่มีเหตุหรือสถานการณ์ใดที่สอดคล้องจะมาบังคับใช้ หรืออาจเป็นกฎหมายที่เพิ่งบัญญัติมาใช้จึงยังไม่พบปัญหาอุปสรรคและภาระต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัชช แก่นน้อย. (2565). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการข้อพิพาทคดีอาญาโดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ทวียศ ศรีเกตุ. (2565). การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย แก้ไขครั้งล่าสุด 2559. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt _dl_link .php?nid=1736

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2549). การปรับปรุงกฎหมาย. วารสารกฎหมายปกครอง. 24 (3), 70-96.

สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2559). คู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมาย แก้ไขครั้งล่าสุด 2559. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.lawreform.go.th/uploads/files/15 70530565-bj5h3-636xt.pdf.

อภิชน จันทรเสน. (2565). ทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายด้วยวิธี Regulatory Guillotin แก้ไขครั้งล่าสุด 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: www.lawreform.go.th.

Dicey, A. V. (1904). The Combination Laws as Illustrating the Relation between Law and Opinion in England during the Nineteenth Century. Harvard Law Review. 17 (8), 511-532.

Malyshev, Nick A. (2015). The Achievements of Regulatory Policy. SSRN, 15(Special), 1-25.

McCubbins, M D., Noll, R. G., & Weingast, B. R. (1987). Administrative procedures as instruments of political control. Journal of Law, Economics, and Organization. 3 (2), 243-77.

Shtatina, M. A., Shmelev, I. V., & Cenerelli, A. (2021). Implementation of the “regulatory guillotine” and development of the administrative law. In SHS Web of Conferences Vol. 118 (3014-3023). EDP Sciences.

Wollmann, H. (2016). Utilization of evaluation results in policy-making and administration: A challenge to political science research. Croatian and Comparative Public Administration. 16 (3), 433–458.