การศึกษาความสามารถในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาครู โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาครู ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูกับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยทั้งสามชนิดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) เท่ากับ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ หลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05ความสามารถในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์
2. ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับพอใจมาก
Article Details
References
ขจรศรี วรรณสถิตย์. (2544). ปัญหาในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ระดับ ปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ขวัญ เพียซ้าย. (2547). การศึกษาความสามารถในการเรียน เรื่อง การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดของนิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ ระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนพรรษ พฤกษะวัน. (2560). การศึกษาความสามารถและปัญหาในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของ นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 13 (2), 197-182.
ปราณี แก้วมา. (2563). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 1. การศึกษาค้นคว้าการฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1.
วนัขพร ชมชื่นใจ สมวงษ์ แปลงประสพโชค และกฤษณะ โสขุมา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16 (2), 102-108.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สายัญ ปันมา. (2554). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 206217 (แนวคิดหลักมูลของคณิตศาสตร์). ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.
อรษา เจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องคู่ อันดับและกราฟ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1โรงเรียนวัดลาดหญ้าไทร(สิงหวิทยาคาร) โดยใช้การเรียนแบบเชิงรุก (Active Learning). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
De Villiers, M. D. (1990). The role and function of proof in mathematics. Pythagoras. 2 (4),
-24.
Hanna, G. (1990). Some pedagogical aspects of proof. Interchange. 21 (1), 6-13.
Harel, G. & Solow, L. (2007). Students’ proof schemes: results from exploratory studies. In A. Schoenfeld, J. Kaput, and Dubinsky. (Eds.), Research in Collegiate Mathematics Education, III, 234-283.
Healy, L. & Hoyles, C. (2000). A study of proof conceptions in algebra. Journal for Research in Mathematics Education. 3 (1), 396-428.
Lucast, E. K. (2003). Proof as method: A new case for proof in mathematics curricular. Unpublished master thesis. Pittsburgh, PA, USA : Carnegie Mellon University.
Moore, R. C. (1990). College students’ difficulties in learning to do mathematical proof. Doctoral dissertation : The University of Georgia.
NCTM. (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston, VA : National Council of Teachers of Mathematics.
Salemi, M. K. (2001). An lustrated Casa for Active Learning. University of North Carolina. Retrieved 9 April 2023 from http://www.unc.edu/salemi/Active_learning/llustrated _Case.pdf
Saeed, R. M. (1997). An exploratory study of college students’ understanding of mathematical proof and relationship of this understanding to their attitude toward mathematics. Dissertation Abstract. 57 (10), 4300-A.
Siengdee, P. (1984). A Study of Mathematical Philosophical and Mathematical Proof. Master’s thesis : Chiang Mai University.