การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ดวงฤดี อุทัยหอม
นพดล ชูเศษ
กุลธิรา แซ่โซว
กรกมล ซุ้นสุวรรณ
สิริกาญจน์ สีดำ
เอกชัย แซ่พุ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของขนมซั้งเทศบาลตำบล บางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 2) เพื่อจัดตั้งและบริหารการจัดการศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง พัฒนาองค์ความรู้นำไปสู่การถ่ายทอดและเผยแพร่ 3) เพื่อประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง และเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อาวุโส ครัวเรือนและกลุ่มที่ผลิตขนมซั้ง จำนวน 36 คน โดยการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง พบว่า ในพื้นที่ตำบลบางเหรียง ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ใช้ชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมมีการทำขนมซั้งที่มีการสืบทอดมายาวนานกว่า 100 ปี โดยการวิจัยครั้งนี้ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้ง เพื่อสืบสานภูมิปัญญาขนมท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนให้แก่นักเรียน และผู้สนใจ การดำเนินการจัดตั้งโดยใช้เกณฑ์ 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอาคารสถานที่และด้านการบริหารจัดการ และได้มีการประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียงเพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ งานวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ซึ่งเป็นแหล่งของความรู้ชุมชนเกี่ยวกับขนมซั้งที่เป็นภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น และเป็นการส่งเสริมให้ขนมซั้งตำบลบางเหรียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นอันจะนำมาซึ่งรายได้ของคนในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2565). กีจ่างหรือจั้ง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา https:// www.technologychaoban.com/news- slide/article_96849

เทศบาลตำบลบางเหรียง. (2565). ประวัติความเป็นมา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา https://bangriang.go.th/content/information

นันทิยา ตันตราสืบ และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2561). การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นล้านนาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 11 (1), 97-106.

ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล. (2566). องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นถิ่นมอญลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 23 (1), 204 – 233.

พันธ์ศักดิ์ แสนพรมมา, สุชาติ ลี้ตระกูล, แสงระวี ณ ลำพูน และ กัมพล ไชย์นันท์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในจังหวัดพะเยา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 11 (2), 168-177.

สุธิดา ไกรเกต, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, เดโช แขน้ำแก้ว, อุดมศักดิ์ เดโชชัย และ อภินันท์ คำหารพล. (2563). บางดีหนมจาก: องค์ความรู้การผลิตขนมจากในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบางดี หมู่ที่ 9 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 4 (2), 28- 44.

ศราวิน ชิณวงศ์ และไอริน โรจน์รักษ์. (2562). แนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30 (1), 124-133.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2560). ศูนย์เรียนรู้ชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา https://chiangrai.cdd.go.th/services/learningcenter

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา. (2563). อาหารพื้นเมือง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 256. แหล่งที่มา https://www2.m-culture.go.th/songkhla/ewt_news.php?nid =1304&filename =index

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2559). การสื่อสารทางการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.