การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงเร่งรัดเพื่อการเตรียมสอบ TOEIC (การฟังและการอ่าน) สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

Main Article Content

อรปวีณ์ กุลพรเพ็ญ
อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์
สิทธิกร สุมาลี

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงประยุกต์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงเร่งรัดเพื่อการเตรียมสอบ TOEIC (การฟังและการอ่าน) สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการอ่านในการทำข้อสอบ TOEIC (การฟังและการอ่าน) ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัด 3) ศึกษาคะแนนพัฒนาการด้านการฟังและการอ่านในการทำข้อสอบ TOEIC (การฟังและการอ่าน) ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัด และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัด กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สอน 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัดเพื่อการเตรียมสอบ TOEIC (การฟังและการอ่าน) 3) แบบทดสอบภาษาอังกฤษ TOEIC (การฟังและการอ่าน) และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัด โดยมีค่า IOC เท่ากับ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการผลการวิจัย พบว่า 1. คู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัดประกอบด้วย 7 บทคือKnowing TOEIC: Photographs, Question-Responses, Conversations, Talks, Incomplete Sentences, Text Completion, และ Reading Comprehension 2. ผลคะแนนการทดสอบหลังเรียน TOEIC (การฟังและการอ่าน) (μ=90.70, S.D.=24.40) สูงกว่าก่อนเรียน (μ=76.03, S.D.=21.26) 3. ผลคะแนนพัฒนาการ TOEIC (การฟังและการอ่าน) ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัดอยู่ในระดับต้น (μ=11.83) และ 4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงเร่งรัดเพื่อการเตรียมสอบ TOEIC (การฟังและการอ่าน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.6, S.D.=0.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คีรีบูนย์ จงวุฒิเวศย์ และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2542). การศึกษาและจัดทำคู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. รายงานการวิจัยการศึกษาและจัดทำคู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มส.). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์.

ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2564). ธุรกิจบริการขนส่งทางอากาศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/logistics/ air-transport/io/air-transport-2023-2025.

ปรียาภา วังมณี และ เมษธิดา วงศ์ทางสวัสดิ์. (2564). ประสิทธิผลของกลยุทธ์การเสริมศักยภาพการทํา ข้อสอบโทอิค สําหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม. 6 (1), 40-60.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2561). เกี่ยวกับพีไอเอ็ม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.pim.ac.th/about/vision.

เสาวณี ทับเพชร. (2559). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนเชิงเร่งรัดเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาอุดมศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา พงษ์พิพัฒน์. (2566). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน TOEIC ผ่านระบบ LMS ของนักศึกษาชั้น ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 13 (1), 101-111.

สุภาพร ดําอุไร, มะลิวัลย์ โยธารักษ์, และวันฉัตร ทิพย์มาศ. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสําหรับครูในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5 (2), 345-358.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://www.nso.go.th/nsoweb/index.

อมรรักษ์ สวนชูผล, ปิยะ กล้าประเสริฐ, และกันศิริ ปฏิมา. (2560). นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน แบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปภัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (3), 107-118.

Boyd, D. (2004). Effective Teaching in Accelerated Learning Programs. Adult Learning. 15 (1-2), 40-43.

ETS. (2022). The TOEIC Listening and Reading test: The world’s most popular English assessment for the workplace. Online. Retrieved April 3, 2023. from https://www. etsglobal.org/pl/en/test-type-family/toeic-listening-and-reading-test.

ETS. (2023). The TOEIC Tests: Unlock your potential by providing proof of your English-communication skills. Online. Retrieved April 3, 2023. from https://www.ets.org/ toeic/test-takers/about/listening-reading.html.

Lee, N., and Horsfall, B. (2010). Accelerated Learning: A Study of Faculty and Student Experiences. Innov High Educ, 35, 191-202.

Lougheed L. (2018). Barron's Toeic:Test of English for International Communication. (8th

ed). Hauppauge New York: Barron's.

Lozanov, G. (1978). Suggestology and suggestopedia: Theory and practice. Online. Retrieved August 3, 2022. from http://unesdoc.unesco.org.

Suwimon Maliwan. (2018). TOEIC Preparation Course for Aviation Personnel Development Institute Students. Kasem Bundit Journal. 19, 234-243.

Trew, G. (2007). A Teacher’s Guide to TOEIC Listening and Reading Test Preparing Your Students for Success. Oxford: Oxford University Press.

Zahruni, A.A., Fahmi,F., and Pratolo, B.W. (2020). Challenges of Taking TOEIC Test and How to Overcome: Perception of Indonesian Vocational Students. Ethical Lingua. 7 (1), 82-91.

Zemke, R. (1995). Accelerated learning: Madness with a method. Online. Retrieved April 3, 2023. from https://www.icao.int/sustainability/Pages/Economic-Impacts-of-COVID-19.aspx.