กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ ตามแนวคิดของกิ๊บสัน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ การจัดการเรียนรู้การสร้างสื่อดิจิทัล สำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ ตามแนวคิดของกิ๊บสัน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้การสร้างสื่อดิจิทัล สำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2” เป็นการศึกษาวิจัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสื่อดิจิทัลของครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ก่อนและหลังการได้รับการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ ของครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ก่อนและหลังการได้รับการนิเทศ ด้วยการใช้กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจในการพัฒนาครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านการสร้างสื่อดิจิทัล ประกอบไปด้วย ความสามารถในการสร้างสื่อดิจิทัล และความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ โดยการใช้แบบประเมิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 28 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล และรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ จากการดำเนินการวิจัย พบว่า 1) ผลประเมินการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ (M-Power) ในการพัฒนาครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านการสร้างสื่อดิจิทัล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 พบว่า อยู่ในระดับที่ดี/เป็นไปได้มาก 2) ผลประเมินความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ (M-Power) จากการพัฒนาครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านการสร้างสื่อดิจิทัล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 พบว่า มีระดับความพึงพอใจมาก
Article Details
References
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. ( 2545 ). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2551). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิพัฒน์.
คำรณ ล้อมในเมืองและรุ่งฟ้า ล้อมในเมือง. (2544) . การวิจัยในชั้นเรียนเล่ม 2. กาฬสินธุ์:ประสานการพิมพ์
ทองใบ ทองมาก. (2555). รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ค.ด. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2551). เทคนิคและทักษะการนิเทศการสอน. โครงการส่งเสริมการผลิต
ตำราและเอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุกานดา ตปนียางกูร. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่:
คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สํานักนายกรัฐมนตรี.
Harris, B.M. 1985. Supervisory Behavior in Education. 2d ed. Englewood Cliff,New Jersy: Prentice-Hall,Inc.
Glickman, Carl D and Godon P. Stephen. (2001). Supervision of Instruction Leadership: A Developmental Approach. 4 th ed. Boston : Allyn and Bacon.
Good, Carter. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw Hill.