รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิตติการณ์ เหมเภตรา
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
ธารินทร์ รสานนท์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 142 โรงเรียน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 10 คน 3) การประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม
            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริการจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ปัจจัยภายนอกสถานศึกษา 2. ปัจจัยภายในสถานศึกษา และ 3. ปัจจัยสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถอธิบายการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มได้ทั้ง 3 กลุ่ม 2) กลุ่มตัวแปรปัจจัยเชิงความสำเร็จทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลทางบวกต่อตัวแปรผลลัพธ์ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ สามารถอธิบายการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มได้ร้อยละ 82.2 3) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) ผลการประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มมีคะแนนความเหมาะสมเฉลี่ยรวมร้อยละ 91.07 และมีความเป็นไปได้มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 86.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ครูพร้อม คืออะไร ระบบ เรียนออนไลน์ มาใหม่เริ่ม 17 พ.ค.นี้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937484

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ศิวา แก้วปลั่ง และปรางทิพย์ เสยกระโทก. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์รายวิชาระบบไอซีทีและการจัดการยุคใหม่. วารสารสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 31 (1), 28-29.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สุกิจ อัครมหาเสนาวงศ์, ุสุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และประเวศ เวชชะ. (2565). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. Journal of Modern Learning Development. 7 (2), 1-18.

สุริยะใส กตะศิลา. (13 พฤษภาคม 2563). เปิดมุมมอง "ข้อดี-ข้อเสีย" เรียนออนไลน์ให้เท่าทันการศึกษา ยุค New Normal. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, แหล่งที่มา https://www2.rsu.ac.th/ sarnrangsit-online-detail/Article-online%20learning

Gorina, L., Gordova, M., Khristoforova, I., Sundeeva, L. and Strielkowski, W. (2023). Sustainable Education and Digitalization through the Prism of the COVID-19 Pandemic. Sustainability, 15 (8), 6846.

Hair, J. F., Black, W. C. B., Barry J. and Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis. (8th ed.). Hamspshire, United Kingdom: Cengage Learning EMEA.

Hodges, C. B., Moore, S., Lockee, B. B., Trust, T. and Bond, M. A. (2020). The difference between emergency remote teaching and online learning. Online. Retrieved July 5, 2022, from: https://er.educause.edu/articles/2020/3/the-difference-between-emergency -remote-teaching-and-online-learning

Otman, A. (07 10, 2022). Pandemic has revealed multifaceted challenges. The Independent Newspaper in Brunei Darussalam. Online. Retrieved July 9, 2022, from: https:// borneobulletin.com.bn/pandemic-has-revealed-multifaceted-challenges-2/

Reshef, P. S. (n.d.). How a digital university eliminated tuition. Online. Retrieved July 16, 2022, from: https://www.mckinsey.com.br/industries/education/our-insights/the-$4000-bachelors-degree