การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตสุขภาพที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
นับตั้งแต่มีการระบาดของโรค COVID-19 พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นและกระจายไปทั่วประเทศ กรมควบคุมโรค ได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ สำหรับการวางแผน และสนับสนุนการตัดสินใจแต่ยังมีข้อจำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตสุขภาพที่ 2 เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอน 1) วิเคราะห์ความต้องการ 2) ออกแบบและพัฒนาระบบ 3) ทดลองใช้และปรับปรุง 4) ประเมินผลคุณลักษณะของระบบ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อระบบโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ผลในรูปแบบ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษา ระบบเฝ้าระวังข้อมูลผู้ป่วย COVID-19 เขตสุขภาพที่ 2 (Cloud COVID Region2: CCR2) ได้ถูกออกแบบและพัฒนาผ่านระบบ Google cloud บนแพลตฟอร์ม Google sheet ให้ผู้ใช้ทุกระดับสามารถทำงานและใช้ข้อมูลร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต โดยระบบนำเข้าข้อมูลผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ผู้ป่วย ผู้สัมผัส นอกจากนี้ ยังมี Modules สำคัญ เช่น ผู้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต ผู้ได้รับวัคซีนและผู้มีอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน ผลการประเมินคุณลักษณะและระดับความพึงพอใจ พบว่า มิติการยอมรับระบบ CCR2 อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.35 0.64) มิติการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (4.32 0.70) มิติความยากง่ายของระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (4.23 0.71) มิติความยืดหยุ่นในระดับมาก (4.09 0.68) มิติคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับมาก (4.04 0.76) มิติความมั่นคงและปลอดภัยของระบบในระดับมาก (3.68 0.87) ภาพรวมความพึงพอใจของผู้ใช้อยู่ที่ระดับมากที่สุด (4.27 0.66) สรุปผลการศึกษาการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง CCR2 สามารถตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของศูนย์จัดการภาวะฉุกเฉิน COVID-19 เขตสุขภาพที่ 2 ใช้รายงาน เฝ้าระวัง ตรวจจับการระบาด เพื่อตอบโต้ สอบสวนและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปเป็นต้นแบบและต่อยอดในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพอื่นๆ ในอนาคต
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการใช้งานระบบรายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมควบคุมโรค (COVID-19 Reporting System DDC) สำหรับโรงพยาบาล และสาธารณสุขจังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 ต.ค. 2566. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/g_srrt/ g_ srrt_030663.pdf
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2566. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other05.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจําถิ่น. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สําหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2566. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210 610033910.pdf
กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2566. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 2017420210820025238.pdf
จิราณัฏฐ์ วัฒนภัทราภรณ. (2562). การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประสานงานในโครงการวางท่อส่งก๊าซ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณรงค์ฤทธิ์ กิตติกวิน และภัคจิรา เกตุสถิตย์. (2562). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของศูนย์บริการสาธารณสุข กลุ่มเขตแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร. รายงานการเฝ้าะวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 50 (12), 181-7.
ปิ่นกมล สมพีร์วงศ์ และสฤษฏ์ชัย ปรีดาวัลย. (2564). การประยุกต์ใช้ Google Sheet สำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติงานของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 15 (4), 490-510.
พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. (2561). ตำราระบาดวิทยาสำหรับนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2566. แหล่งที่มา https://smd.wu.ac.th/wp-content/uploads /2017/12/ตำราระบาดวิทยา.pdf
ยุทธ สุวรรณเดช, ดารุณี วงษ์ศรีทรา, มัสยา ฐาปพันธ์นิติกุล และ นภัสมน แทนเพชร. (2565). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในการยืมคืนระหว่างห้องสมุดด้วย Google tools. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุด.
ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี และ ภาสินี โทอินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30 (1), 53-61.
วิญญู จันทร์เนตร และธนบดี โจทย์กิ่ง. (2562) การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 50 (37), 549-55.
วิทิตา แจ้งเอี่ยม และอรนิดา พุทธรักษ์. (2560) การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคสุกใส โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ปี พ.ศ. 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 48 (ฉบับพิเศษ), S1-8.
สุทธนันท์ สุทธชนะ และคณะ. (2564). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี วันที่ 10 มกราคม-30 เมษายน 2563. รายงานการเฝ้าะวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 52 (1), 1-9.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อมรรัตน์ ชอบกตัญญู และคณะ. (2564). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ จังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ. 2562. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 52 (43), 625-33.
CDC. Guidelines for evaluating surveillance systems. MMWR 1988;37(No. S-5).
German RR, Lee LM, Horan JM, Milstein RL, Pertowski CA, Waller MN; Guidelines Working Group Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Updated guidelines for evaluating public health surveillance systems: recommendations from the guidelines working group. MMWR Recomm Rep 2001; 50 (No. RR–13).