ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง กับภาวะโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตสุขภาพที่ 4

Main Article Content

เทวินทร์ วารีศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา ( Descriptive Research ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยครอบครัว รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และภาวะโภชนาการ รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตสุขภาพที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวนนักเรียน 400 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์โดยใช้ คะแนนมาตรฐาน (Z-Score)  สถิติไคสแควร์
           ผลการศึกษาพบว่า
          1. ปัจจัยครอบครัว ระดับการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนส่วนมากอยู่ที่ระดับอาชีวศึกษา,อนุปริญญา/ปวช./ปวส.ร้อยละ27.3 รายได้ของครอบครัว ส่วนมาก มากกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 28.9 ประเภทครอบครัว ส่วนมากเป็นครอบครัวสามรุ่น (พ่อแม่ลูกและปู่/ย่า/ตา/ยาย) ร้อยละ 43.0 จำนวนพี่น้องของเด็ก ส่วนใหญ่ มีพี่น้องจำนวน 1 คน ร้อยละ 56.3 รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวส่วนใหญ่เป็นแบบเอาใจใส่ ร้อยละ 97.6 ภาวะโภชนาการ เด็กมีภาวะโภชนการสมส่วน ร้อยละ 60. 9
          2. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและภาวะโภชนาการ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ โชติบาง, เนตรทอง นามพรม, พัชรี วรกิจพูนผล. (2555). ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกายในเด็กทีมีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารพยาบาลสาร. 39 (1), 23-34.

ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู: แนวคิดของ Diana Baumrind. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 29 (4), 173-187.

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2554). การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดากับการเกิดภาวะอ้วนในเด็ก. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 17 (2), 1-18.

ปุลวิชช์ ทองแดง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2554). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 18 (3), 287-297.

รัตนาวดี รอดภิรมย์. (2533). การศึกษาพฤติกรรมการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีรนุช วงศ์คงเดช. (2547). เจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือและการเรียนรู้กำกับตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alahmadi R. A. (2019). The Effects of Parenting Style and Feeding Style on ChildWeight Status: A Systematic Review. Master of Science in Nutrition and

World Health Organization. (2016). Obesity and Overweight. Online. Retrieved July 20, 2018, from http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweigh