อิทธิพลความรู้ทางการเงิน การรับรู้ทางการเงิน การรับรู้ทางสังคมที่มีต่อการวางแผนเกษียณของบุคคลวัยทำงานในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศุภัคกุณ ชัยฤทธิ์
อรจันทร์ ศิริโชติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้ทางการเงิน การรับรู้ทางการเงิน และการรับรู้ทางสังคมที่มีต่อการวางแผนเกษียณของบุคคลวัยทำงานในจังหวัดสงขลา  กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลวัยทำงานในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน  เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ทางการเงิน และความรู้ทางการเงินมีอิทธิพลต่อการวางแผนเกษียณของบุคคลวัยทำงานในจังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่การรับรู้ทางสังคมไม่มีอิทธิพลต่อการวางแผนเกษียณอายุของบุคคลวัยทำงานในจังหวัดสงขลา 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การวางแผนเกษียณ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://portal.set.or.th/education/th/start/start_start_3_5.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). การวางแผนเกษียณ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/th/satang-story/money-plan/retirement.html

นวลทอง วจะรักษ์เลิศ และบุษรา โพวาทอง. (2565). การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาระศาสตร์. 5 (1), 37-50.

พัชราภา อินทพรต, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล, สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2566). ความฉลาดรู้ทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันระดับอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7 (4), 1-14.

พัชรี สุขโชค และวิไลลักษณ์ อยู่สำราญ. (2564). การเตรียมความพร้อมวางแผนชีวิตเพื่อการเกษียณของพนักงาน บริษัทเอกชนกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารสังคมภิวัฒน์. 12 (2), 16-31.

โยษิตา ป้องชัย, จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และอังคณา อ่อนธานี. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ในช่วงวิกฤติการณ์ COVID-19 เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงินของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (2), 43-60.

ลัลลิยา สามสุวรรณ และมนตรี โสคติยานุรักษ์. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางการเงิน ความเสี่ยงในการวางแผนการเงิน แรงจูงใจในการวางแผนการเงิน การรับรู้ความสามารถในตน และการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 19 (1), 131-156.

สมบูรณ์ สารพัด, นภาพร หงษ์ภักดี, สืบพงษ์ หงษ์ภักดี, สิทธิเดช บำรุงทรัพย์. (2565). ผลกระทบของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางการเงิน และภาวะเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล กลุ่มวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14 (1), 54-63.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปข้อมูลสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2564: ผลสำรวจ/สำมะโนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/pubs/e-book/NSO_Key_Findings/index.html.

Hauff, J.C., Carlander, A., Garling, T., & Nicolini, G. (2020). Retirement Financial Behaviour: How Important Is Being Financially Literate?. Journal of Consumer Policy, 43 (3), 543-564.

Larisa, L.E., Njo, A. & Wijaya, S. (2020). Female Workers’ Readiness for Retirement Planning: An Evidence from Indonesia. Review of Behavioral Finance, 13 (5), 566-583.

Murari, K., Shukla, S., & Adhikari., B. (2021) Do Psychological Social and Financial Perceptions of Postretirement Life and Demography Influence the Retirement Planning Behaviour?. International Journal of Social Economics, 48 (11), 1545-1566.

Mustafa, W.M.W., Islam, M.A., Asyraf, M., Hassan, M.S., Royham, P., & Rahman, S. (2023). The Effects of Financial Attitudes, Financial Literacy and Health Literacy on Sustainable Financial Retirement Planning: The Moderating Role of the Financial Advisor. Sustainability Journal, 15 (3), 1-17.

Nguyen, L. T. M., Nguyen, P. T., Tran, Q. N. N., & Trinh, T. T. G. (2021). Why Does Subjective Financial Literacy Hinder Retirement Saving?. Review of Behavioral Finance, 14 (5), 627-645.

Sarpong-Kumankoma, E. (2023). Financial Literacy and Retirement Planning in Ghana. Review of Behavioral Finance, 15 (1), 103-118.

Tomar, S., Banker, H.K., Kumar, S., & Hoffmann, A.O.I. (2021). Psychological Determinants of Retirement Financial Planning Behavior. Journal of Business Research, 133 (3), 432-449.