กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียน ในยุคฐานวิถีชีวิตถัดไป สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi - Phase mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารวิชาการ และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 โรงเรียน รวม 175 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครู จำนวน 10 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=3.01, S.D=1.23) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.15, S.D=1.04) 2) ผลการสร้างกลยุทธ์การบริหารวิชาการ ประกอบด้วยกลยุทธ์ 7 กลยุทธ์ 15 ตัวชี้วัด ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน กลยุทธ์ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์ด้านวัดผลและประเมินผล กลยุทธ์ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลยุทธ์ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี และกลยุทธ์ด้านการนิเทศการศึกษา และ 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารวิชาการ พบว่า ระดับความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียน ในยุคฐานวิถีชีวิตถัดไป สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅=4.52, S.D=1.12)
Article Details
References
กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
กฤตเมธ บุญนุ่น. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ และไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 9 (1), 336-347.
ธานินทร์ อินทรวิเศษ. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. Humanities Social and arts Veridian E-Journal. 12 (6), 478-494.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2560). กระบวนการสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารราชภัฏ สุราษฎร์ธานี. 4 (2), 45-70.
รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2558). การบริหารจัดการองค์การตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร สมอุทัย. (2565). “การนิเทศการศึกษา” หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ. 5 (3), 275-288.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. (2566). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 เป็นองค์กรชั้นนำ สร้างคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.korat1.go.th/
สุพัตรา ปทุมคณารักษ์. (2553. การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอทับปุด เขตพื้นที่การศึกษาพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุมนา ธิกุลวงษ์. (2564). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 7 (1), 57-69.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศจีทิพย์ ตาลพันธ์ และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การนิเทศการศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 5 (2), 100-114.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting Mixed Methods Research. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage.
Gulick Luther and L. Urwick. (1936.) Papar on The Science of Administration. New York : Columbia University.
Word Economic Forum. (2023). สรุปให้รู้ ตามทันโลกการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2566.แหล่งที่มา: https://www.aksorn.com/al-directions-educational-2023