ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ตามแนวคิดความเป็นพลเมืองกับความยุติธรรมทางสังคม

Main Article Content

กนกวรรณ การุญ
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
นันทรัตน์ เจริญกุล

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองกับความยุติธรรมทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศจำนวน 393 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียน จำนวน 2 ท่าน  คือ ผู้บริหารโรงเรียน (ผู้อำนวยการโรงเรียน) 281 คน และครูกลุ่มบริหารวิชาการ 429 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจำนวน 710 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
           ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองกับความยุติธรรมทางสังคมที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.028) รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.027) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร จัดลำดับความต้องการจำเป็นของความยุติธรรมทางสังคม อันดับสูงสุด คือ ความยุติธรรมเชิงวัฒนธรรม(PNImodified = 0.030) (2) การจัดการเรียนรู้ จัดลำดับความต้องการจำเป็นของความยุติธรรมทางสังคม อันดับสูงสุดเท่ากัน คือ ความยุติธรรมเชิงความเชื่อมโยง และความยุติธรรมเชิงวัฒนธรรม (PNImodified = 0.027) (3) การวัดและประเมินผล จัดลำดับความต้องการจำเป็นของความเป็นพลเมือง อันดับสูงสุดเท่ากัน คือ สิทธิในการแสดงออกอย่างเสรีของปัจเจกบุคคล สิทธิในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และสิทธิในความมั่นคงทางสังคม และการได้รับบริการทางสังคม (PNImodified = 0.028)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท ไชยรัตน์. (2562). การวิจัยและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการใช้การวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองของครูในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. เล่ม 124 ตอนที่24 ราชกิจจานุเบกษา (16 พฤษภาคม 2550).

เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. (2556). กรอบแนวคิดหลักสูตร การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคอิมเมจ.

ณธรา เหมือนปิ๋ว. (2561) การพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็นพลเมืองโลกในประเทศไทยยุค 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566. แหล่งที่มา : https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/ vol46/iss3/5

ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2559). ความเป็นธรรมทางสังคม: ความพยายามชี้วัดและวิเคราะห์ในเชิงตัวเลข. วารสารธรรมศาสตร์. 35 (1), 164-191.

บูชิตา สังข์แก้ว และคณะ. (2562). ตัวแบบการพัฒนานโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กกลุ่ม ชาติพันธุ์เพื่อการสร้างความยุติธรรมทางสังคม. วารสารพัฒนาสังคม. 21 (2), 97-116.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic education). กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

พงษ์ลิขิต เพชรผล (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิรมย์ จีนธาดา และคณะ. (2559). ความยุติธรรมทางสังคมกับการจัดการศึกษา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 27 (3), 171-181

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความ คิดเห็นของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุบลราชธานี : หจก. อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สุริยานนท์ พลสิม.(2563). การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระดับโรงเรียนของญี่ปุ่น.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา :https://www.researchgate.net/

publication/342260378_karcadkarsuksapheuxserimsrangkhwampenphlmeuxngniradabrongreiynkhxngyipun_Civic_Education_in_Japanese_School

สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC. (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา.

สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2547). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Campbell, R. F. (1976). Administration Behavior in Education. New York : Macmillan.

Cochran-Smith, M. (2004). Walking the road: Race, diversity, and social justice. New York : Teachers College Press.

Cogan, J., & Derricott, R. (1998). Citizenship education for the 21st century:An International Perspective on Education. London : Kogan Page.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper Collins.

Fleischacker, S. (2005). A short history of distributive justice. Massachusetts : Harvard University Press.

Fraser, N. (1997). Justice interruptus: Critical reflections on the ‘postsocialist’ condition. New York : NY Routledge.

Gardner, M., & Toope, D. (2011). A social justice perspective on strengths-based approaches: Exploring educators’ perspective and practices. Canadian Journal of Education. 34 (3), 86-102.

Kimdrough, R. B., & Nunnery, M. Y. (1988). Educatinal Administration : An Introduction. (3 ed.). New York : Macmillan Publishing.

Lalas, J., & Valle, E. (2007). Social justice lenses and authentic student voices : Enhancing leadership for educational justice. Educational Leadership and Administration. 19, 75-102.

Lawthons. (2011). Pedagogy for Citizenship Education in Thailand: The Gap between Government Policy and Implementation. Online. Retrieved November 21, 2022, from : https://www.researchgate.net/scientific-contributions/Nuttaporn-Lawthong-2108618420

Marshall, T.H. (1950). Citizenship and Social Class, in Citizenship and Social Class and Other Essays. Cambridge University Press.

Miller, D. (1976). Social justice. London: Oxford University Press.

Miller, P. M., & Engel, M. T. (2011). Forging vertical linkages in the public sphere : School-church engagement for social justice. Educational Foundations, 25 (1-2), 25-42.

Oxfam. (2015). Education for global citizenship: A guide for schools. Oxfam GB.

Rawls, J. (1999). A theory of justice (Revised edition ed.),Cambridge/Massachusetts : Harvard University Press.

Sergiovanni, T. J., Kelleher, P., McCarthy, M. M., & Fowler, F. C. (2003). Educatinal Governance and Administration.

Silverman, S. K. (2009). On responsibility: Teachers’conceptions of promoting social justice.(3375882 Ph.D.), The Ohio State University,Ann Arbor. Online. Retrieved November 1, 2022, from http://search.proquest.com/docview/304987191?accountid= 28431ProQuest Dissertations & Theses Global database.

Smith, E. (2012). Key issues in education and social justice. London : Sage.

Standish, P. (2011). Social justice in translation: Subjectivity,identity, and occidentalism. Educational Studies in Japan : International Yearbook, 6, 69-79.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and

Row Publication.

Westheimer, J., & Kahne, J. (2004). What kind of citizen? The politics of educating fordemocracy. American educational research journal, 41 (2), 237-269.