การเมืองภาคประชาชนภายใต้รัฐบาลทหาร

Main Article Content

อลงกรณ์ อรรคแสง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการความสำคัญของบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและการรับรองสิทธิและเสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญที่มีต่อขบวนการและการเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชน นอกจากนี้ยังเพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อขบวนการและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนภายหลังการยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีการรับรองสิทธิและเสรีของประชาชนและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนภายใต้การบังคับใช้กฎอัยการศึก ผลการศึกษาพบว่า บรรยากาศทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมีความสำคัญยิ่งต่อการเมืองภาคประชาชน เพราะเป็นบรรยากาศที่มีรัฐธรรมนูญเป็นเสมือนหลักให้ภาคประชาชนได้ใช้อ้างอิงหรือค้ำยันหรือรับรองถึงสิทธิและเสรีภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับรองถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ซึ่งเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของภาคประชาชนที่จะใช้ในการต่อรองและกดดันรัฐเพื่อให้เกิดการเจรจา ทำให้ช่องทางที่จะทำให้ประชาชนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล และประการสุดท้ายจากการศึกษาพบว่าบรรยากาศประชาธิปไตยนั้นส่งเสริมการอภิปรายอย่างเปิดเผยซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่สำคัญของการเมืองภาคประชาชน และเมื่อบรรยากาศประชาธิปไตยถูกพรากไปจากการรัฐประหารต่อเนื่องด้วยการปกครองของรัฐบาลทหาร ผลกระทบที่ตามมาต่อการเมืองภาคประชาชนจึงมีมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองถูกจำกัด การถูกควบคุมและการปราบปรามทางการเมืองแบบเผด็จการ การอภิปรายอย่างเปิดเผยถูกจำกัดและคุกคาม และสถาบันและกลไกในการแก้ไขข้อขัดแย้งและข้อพิพาททำงานผิดปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล ทับจุมพล (บรรณาธิการ). (2543). สองทศวรรษ ครป. บนเส้นทางการเมืองภาคประชาชน พ.ศ.25522-2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กังหัน. น.7-8.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2541). การเมืองบนท้องถนน : 99 วันสมัชชาคนจนและประวัติศาสตร์การเดินขบวน ชุมนุมประท้วงในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและผลิตตารา มหาวิทยาลัยเกริก.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. “ขบวนการประชาชนในชนบทช่วงตั้งแต่ทศวรรษ 2530: ผลสำเร็จ ล้มเหลว และผลกระทบ”. ใน นวลน้อย ตรีรัตน์ (บรรณาธิการ). (2547). ประชาธิปไตย ประชาสิทธิ์ ประชาธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ. (2545). วิถีชีวิต วิธีสู้ : ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. เชียงใหม่: ตรัสวิน.

วัชรา ไชยสาร. (2545). การเมืองภาคประชาชน : พัฒนาการการมีส่วนร่วมในทางการเมือง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและพหุการเมือง. กรุงเทพมหานคร: เมฆขาว.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2548). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

Sunai Phasuk, (2019), Unending Repression Under Thailand’s Military Junta: Abuses Persist Five Years After Coup). Online. Retrieved April 29, 2020, from https://www.hrw.org /news/2019/05/22/unending-repression-under-thailands-military-junta