มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อม

Main Article Content

พร้อมพล พระพรหม
รัฐชฎา ฤาแรง

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่อง “มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศกับของประเทศไทยเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อม เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
           วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ กลุ่มสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กลุ่มนักวิชาการกด้านฎหมาย กลุ่มเกษตรกรผู้ทำฟาร์มกัญชา และกลุ่มเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข
           จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการปลดกัญชา กัญชง และกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภทที่ 5 แล้ว ราชอาณาจักรไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่กัญชา กัญชง และกระท่อม มีสถานะถูกกฎหมายและสามารถใช้ในการสันทนาการได้อย่างเสรี โดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 อนุญาตให้ใช้กัญชา กัญชงทางการแพทย์ได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถมีไว้ในครอบครองและใช้ได้ในจำนวนที่ไม่เกินจำเป็นสำหรับใช้รักษาโรคโดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้าน ที่ให้การรักษา การใช้ประโยชน์ในทางสันทนาการ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 และร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ.... กำหนดห้ามจำหน่ายสมุนไพรควบคุม หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปี สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร และห้ามจำหน่ายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ในวัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก และสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก แต่ไม่ได้จำกัดระยะห่างจากสถานที่เหล่านี้ อีกทั้งยังมิได้มีการจำกัดปริมาณกัญชาที่บุคคลสามารถครอบครองได้ และอนุญาตให้ปลูกกัญชา กันชงได้ครอบครัวละ 15 ต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้แก้ไขประกาศและร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกำหนดปริมาณครอบครองกัญชาให้ชัดเจนว่าให้ผู้ป่วยสามารถครอบครองได้ไม่เกินปริมาณเท่าใด กำหนดระยะห่างระหว่างร้านค้ากับสถานที่ที่เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมตามแนวทางของสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คือให้มีระระห่างจากสถานที่ที่กำหนดในรัศมี 300 เมตร และกำหนดจำนวนกัญชาต่อครัวเรือนให้ปลูกได้ไม่เกิน 4-6 ต้น และปลูกในที่มิดชิด เป็นพื้นที่ต้องล็อคและไม่สามารถเห็นได้จากภายนอกแยกไว้ต่างหากเพื่อไม่ให้ผู้เยาว์เข้าถึงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กะปุ๊กดอทคอม. (2565). (ออนไลน์). ปลดล็อกกัญชา กัญชง แล้วนำสมุนไพรเหล่านี้ไปทำอะไรได้บ้าง รู้ไว้ให้ชัดจะได้ไม่ขัดกับกฎหมาย. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2566 แหล่งที่มา : https://health. kapook.com/view256504.html.

เจณิตตา จันท์วงษา. (2565). คุุม ‘กััญชาเสรีี’ อย่่างไรให้้ปลอดภััยกัับเด็็กและเยาวชนที่่สุุด. กรุงเทพมหานคร : ศููนย์์ความรู้้นโยบายเด็็กและครอบครััว (คิิด for คิิดส์์).

ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์. (2562). กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมพืชกัญชา: บทเรียนจากต่างแดน. ออนไลน์.สืบค้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 แหล่งที่มา : https://so04.tci-thaijo.org/index.php /nitipat/article /download/221892/159948/.

นรากร นันทไตรภพ. (2565). การครอบครอง และการใช้กัญชาภายหลังการปลดล็อก. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 แหล่งที่มา : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament _parcy/ewt_dl_ link.php?nid=88480&filename=Thai_National_Assembly.

นิยม เติมศรีสุข. (2562). มุมมองใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้กัญชาและพืชกระท่อมทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: วารสารจุลนิติ, 16 (4).

บัณฑิต ศรไพศาล. (2562). คิดให้ชัดกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28 (4).

ปวีณา ชาติรังสรรค์. (2562). มาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ (ตอนที่ 3). กรุงเทพมหานคร : วารสารสำนักงาน ป.ป.ส. 35 (3).

พลััฐวััษ วงษ์์พิิริิยชััย และ ธานีี วรภััทร์์. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการปลูกและการใช้กัญชาในครัวเรือน. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน. 15 (1).

ภูฟ้าเอนเตอร์ไพรส. (2565). ปลดล็อกกัญชาในไทย อะไรทำได้-ทำไม่ได้บ้าง. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2566 แหล่งที่มา : https://www.phufaresthome.com/blog/Thailand-legalize-marijuana/.

รพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะ. (2561). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 12 (1).

วีรยา ถาอุปชิต,นุศราพร เกษสมบูรณ์.(2564). นโยบายกัญชา: การวิเคราะห์เปรียบเทียบไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน และอิสราเอล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 13 (1).

อวิการัตน์ นิยมไทย. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากกัญชาและกัญชงอย่างเหมาะสม. วารสารจุลนิติ. 19 (4).

iLAW. (2565). ร่าง พ.ร.บ.กัญชา: ส่องมาตรการควบคุมกัญชาหลังถูกปลดจากบัญชียาเสพติด. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2566 แหล่งที่มา : https://ilaw.or.th/node/6326.

Lubman DI, Chetham, A Yücel M. (2015). “Cannabis and adolescent brain development,” Pharmacology &Therapeutics, 2015; 148: 1-16, doi:10.1016/j.harmthera. 2014.11. 009.