ความคิดเห็นของบุคลากรการแพทย์งาน RDU จังหวัดพิษณุโลก ต่อการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด

Main Article Content

แสงสุดา เพ็งคุ้ม
อรรถวิทย์ สมศิริ
แสงหล้า พลนอก
อัษฎางค์ พลนอก

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเห็นบุคลากรการแพทย์เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของกระทรวงสาธารณสุข เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ สัมภาษณ์ความเห็นของบุคลากรการแพทย์งาน RDU จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๒๕ คน แบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเชิงความคิดเห็น (Content analysis) แบบสร้างข้อสรุป ผลวิจัยพบว่า ความเห็นบุคลากรการแพทย์เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของกระทรวงสาธารณสุข 1. ประเด็นการรายงานติดตามข้อมูลตัวชี้วัดจาก HDC ง่ายสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตามควรพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ โดย HDC ควรแยกรหัส ICD10 เป็น 4 กลุ่ม ตามแนวทาง CPG จะได้ข้อมูลที่แยกกลุ่มแสดงความสมเหตุผลการสั่งใช้ยาได้ชัดเจน 2. ประเด็นความเห็นต่อเกณฑ์เป้าหมายการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุไม่เกินร้อยละ 50 นั้น มีความเหมาะสม แต่อาจทบทวนปรับเกณฑ์การผ่านให้เหมาะกับบริบทโรงพยาบาล 3. ประเด็นการดำเนินงาน RDU พบว่าปัญหาอุปสรรค คือ การสั่งยาของแพทย์ ความเข้าใจนโยบาย การให้ความสำคัญ การรับรู้ข้อมูลความสมเหตุผลการสั่งใช้ยา ข้อมูลการติดเชื้อ ทั้งนี้ ข้อเสนอการแก้ปัญหา คือ ควรมีการอบรมสร้างความเข้าใจพื้นฐานด้าน RDU ให้แพทย์และบุคลากรการแพทย์จบใหม่ก่อนปฏิบัติงานจริง สรุปว่า การรายงานข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของกระทรวงสาธารณสุขไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะแสดงความสมเหตุผลของการสั่งใช้ยา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรายงานข้อมูลตัวชี้วัด ควรนำผลสรุปที่ได้จากงานวิจัยมาปรับใช้ เพื่อให้ตัวชี้วัดสามารถสะท้อนผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลได้อย่างแท้จริงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. (แก้ไขครั้งที่ 2). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 170-171.

คชาพล นิ่มเดช, จินตนา ลิ่มระนางกูร และศุศราภรณ์ สามประดิษฐ์. (2562). นโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 1 (2), 1-7.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. (2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

-93.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, อนันตเดช วงศรียา, และสุรศักดิ์ ไชยสงค์. (2562). ประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 13 (1), 116-124.

วีรยุทธ์ เลิศนที, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์, ไตรเทพ ฟองทอง, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช, ทอง บุญยศ และประเสริฐ อาปัจชิง. (2566). รายงานโครงการวิจัย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล database system development to support rational drug use indicators (ฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, ค-91.

สุภัคษา วาดพิมาย, กรแก้ว จันทภาษา, และจริงใจ อารีมิตร. (2563). ความคิดเห็นของแพทย์ต่อการปฏิบัติตามนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล: กรณีศึกษาจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 12 (1), 114-127.

แสงสุดา เพ็งคุ้ม และอัษฎางค์ พลนอก. (2565). รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2565. พิษณุโลก: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 625-633.

HDC. Dashboard. (2022). Online. Retrieved December 14, 2022. from : https://hdcservice. moph.go.th

Martin-Davila, P., Fortún, J., López-Vélez, R., Norman, F., Montes de Oca, M., Zamarrón, P., Garrido, G. (2008). Transmission of tropical and geographically restricted infections during solid-organ transplantation. Clinical Microbiology Reviews, 21 (1), 60-96.

Sirijatuphat, R., Choochan, T., Siritongtaworn, P., Sripojtham, V., & Thamlikitkul, V. (2015). Implementation of antibiotic use guidelines for fresh traumatic wound at siriraj hospital. J Med Assoc Thai, 98 (3), 245-252.