การพัฒนานวัตกรรมการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการ เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่

Main Article Content

สุปราณี ชมจุมจัง
สืบวงศ์ กาฬวงศ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องของการพัฒนานวัตกรรมการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ และ 3) เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) R&D ใช้แนวคิด Design Thinking เป็นกรอบการวิจัย ขั้นที่ 1 การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานจริง (Empathize) ขั้นที่ 2 การระบุปัญหาหรือประเด็น (Define) ขั้นที่ 3 การระดมความคิด (Ideate) ขั้นที่ 4 การสร้างต้นแบบ (Prototype) และ ขั้นที่ 5 เป็นการทดสอบต้นแบบ (Test) กลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ) คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านวารสารได้แก่ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ผู้เขียน และเจ้าหน้าที่ดูแลวารสาร จำนวน 40 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสัมภาษณ์แบบ Focus Group 4) แบบประเมินนวัตกรรม และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องของการพัฒนานวัตกรรมการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ พบว่า กระบวนการส่งบทความค่อนข้างมีความละเอียดในทุกขั้นตอน รายละเอียดรูปแบบบทความของแต่ละวารสารมีความแตกต่างกันซึ่งต้องศึกษาและดูตัวอย่างประกอบอย่างละเอียด
          2. ผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ พบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการจัดเตรียมบทความ ระยะเวลาของผู้เขียนในการส่งบทความมีระยะจำกัด รีบเร่งจนทำให้ไม่สามารถศึกษาเอกสารและทำความเข้าใจการเตรียมรูปแบบบทความตามที่วารสารกำหนดได้ และความไม่เข้าใจในรูปแบบที่วารสารกำหนด ซึ่งแต่ละวารสารจะมีความแตกต่างกัน
          3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ พบว่า ผลจากการใช้นวัตกรรมการจัดเตรียมรูปแบบบทความวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และได้พัฒนานวัตกรรมตาม
C-E-C-E Model

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณนงค์. (2551). การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 66 (20), 38-45.

กฤษณะ หลักคงคา และ วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร. (2566). ศึกษาเกี่ยวกับ การพัฒนากระบวนการคิด

สู่แนวคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจด้วยตัวแบบ i-CAB. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (1), 157-167.

จินตนา ถ้ำแก้ว. (2559). รูปแบบการพัฒนากระบวนการจัดทำวารสารวิชาการเพื่อพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย. วิทยานิพนธ์การศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จีระพงษ์ โพพันธุ์. (2562). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: https://kruit.com/design-and-technology-m2/the-process-of-design-thinking.

ชำนาญ ปาณาวงศ์ และคณะ. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12 (3), 33-52.

นงเยาว์ เปรมกมลเนตร และคณะ. (2549). วิกฤตระบบ Peer Review. ประชาคมวิจัย. 12 (68), 40-43.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเขียนบทความทางวิชาการ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(1). สืบค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://kpi.msu. ac.th/upload/ag_tor_ref_byval/ag_2_in_2.2.2_7(2559).pdf

พรชนก ทองลาด. (2561). การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงาน…ทำได้อย่างไร?. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10 (ฉบับพิเศษ), 279-291.

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1 (1), 6-12.

สามารถ บุญรัตน.์ (2560). เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 7 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: http://lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2017/08/เทคนิคการเขียนบทความ วิชาการ.pdf

สิริพร ป้อมจัตุรัส, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และ วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร. (2022). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับความต้องการรูปแบบห้องสมุด ที่พึงประสงค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย. 16 (2), 90-107.

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย. (2566). ประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 พ.ศ. 2568-2572. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://tci-thailand.org/[accessed 17 November 2022].