การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับทุนทางวัฒนธรรมมิติด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดและศาลเจ้า ย่านเยาวราช

Main Article Content

ยุภาวรรณ ดวงอินตา
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนา QR Code ประชาสัมพันธ์วัดและศาลเจ้าย่านเยาวราชให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต และเพื่อประเมินความพึงพอใจ QR Code ประชาสัมพันธ์วัดและศาลเจ้าย่านเยาวราช เป็นงานวิจัยประเภทเชิงประยุกต์ กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจ QR Code ของวัดและศาลเจ้าย่านเยาวราช จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษา การพัฒนาและออกแบบ OR Code (Quick Response) มีลำดับขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : ศึกษา วางแผน และรวบรวมข้อมูลของวัดและศาลเจ้า ขั้นตอนที่ 2 : ออกแบบ QR Code เพื่อนำเสนอข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และความสำคัญของวัดและศาลเจ้า (Information Design) ภาษาไทยภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ขั้นตอนที่ 3 : ประเมินผลการออกแบบเทคโนโลยี QR Code วัดและศาลเจ้า (User Experience Design) ขั้นตอนที่ 4 : พัฒนาและปรับปรุงแก้ไข QR Code วัดและศาลเจ้า QR Code (QR Code Developing) ขั้นตอนที่ 5 : เผยแพร่ QR Code วัดและศาลเจ้า (Promote & Provoke)
           ผลการศึกษา การพัฒนา QR Code ทุนทางวัฒนธรรมมิติด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดและศาลเจ้าย่านเยาวราช พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความพึงพอใจ QR Code มีขนาดตัวอักษรและสีการนำเสนอ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา การใช้ภาษาในการสื่อสาร ระดับมาก การออกแบบลักษณะ/รูปแบบ ความรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูล ความโดดเด่นและน่าสนใจ ความชัดเจนการสื่อความหมายและเนื้อหาสั้นกระชับได้ใจความ ระดับมาก และความหลากหลายของภาษา ค่าเฉลี่ยน้อยสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษียร เตชะพีระ. (2537). แลลอดลายมังกร. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

บุญชม ศรีสะอาด . (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยนาถ บุนนาค. (2539). “สำเพ็ง : ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพมหานคร”. สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2546). วิถีจีน. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์สาส์น.

รสิกา อังกูร. (2544). ความพร้อมของวัดในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดย ผ่านการชมศิลปวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (2551). โลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงของศาลเจ้าจีนในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 28 (3), 59-105.

Bourdieu, Pierre and Passerson, Jean-Claude. (1977). Reproduction in Education, Society and Culture. Beverly Hills: Sage Publications

Putnam, R. et al. (1993). Making Democracy Work: Traditions in Modern. Italy, Princeton University Press, Princeton, N.J.