การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยอัลกอริทึม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยอัลกอริทึม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อนวัตกรรมการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยอัลกอริทึมและ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อนวัตกรรมการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยอัลกอริทึม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ ห้อง ม.1/2 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อนวัตกรรมการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยอัลกอริทึม และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อนวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ของสื่อนวัตกรรมสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อสื่อนวัตกรรมการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยอัลกอริทึมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกริกเกียรติ กุลจรัสอนันต์ และ สายัณห์ โสธะโร. (2562). การศึกษาความสามารถในการสร้างสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจากโจทย์ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีบาร์โมเดล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 18 (2), 93-100.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7-20.
ณัฐริกา ล้้าเลิศ, ปวีณา ขันธ์ศิลา และ สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ. 1 (3), 27-40.
ทิพย์เกสร รอดสีเสน, เบญจพร ชนะกุล และ กตัญญุตา บางโท. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16 (1), 119-128.
ธนาภรณ์ ลัดดาสวัสดิ์, น้ำผึ้ง ชูเลิศ และ ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม). Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (7), 344-355.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.niets.or.th /th/catalog /view/3121
อมีนา ฉายสุวรรณ. (2558). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้า. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10 (3), 43-51.
Likert, R.. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son. 90-95.
W.S. Gosset (aka Student). (1908). The probable error of a mean. Journal of Biometrika. 6(1), 1-25.