ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาล ตามแนวคิดทักษะของนวัตกร

Main Article Content

เบญญาภา วิไลวรรณ
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

           ทักษะของนวัตกร เป็นความสามารถของเด็กในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่เกิดจากการฝึกฝนทักษะ 5 ทักษะ ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดเชื่อมโยง (Associating Skill)  2) ทักษะการตั้งคำถาม (Questioning  Skill) 3) ทักษะการสังเกต (Observing Skill)  4) ทักษะเครือข่าย (Networking Skill) และ 5) ทักษะการทดลอง (Experimenting Skill) เพื่อสร้างพื้นฐานทักษะของนวัตกรให้กับเด็กปฐมวัย
           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร เพื่อแสดงถึงความสำคัญของสภาพปัญหาในการบริหารวิชาการด้วยดัชนี PNImodified โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลที่มีการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3–6 ปี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 374 โรงเรียน มีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร หรือหัวหน้าวิชาการระดับปฐมวัย และครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 748 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพ
ที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกรที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.824 โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น
           ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาล ตามองค์ประกอบของทักษะนวัตกรโดยภาพรวม มีค่าดัชนี PNImodified เท่ากับ 0.691 ถือว่ามีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการพัฒนา และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.744)  ด้านการประเมินพัฒนาการ (PNImodified = 0.691) และด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (PNImodified = 0.671) ตามลำดับ ทั้งสามด้านดังกล่าวถือว่าเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรวรรณ เอกพันธ์. (2562). นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราภร คุ้มมณี. (2561). การเรียนรู้แบบสะตีมเกมมิฟิเคชันเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านนวัตกรรมสร้างสรรค์ ของนวัตกรอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15 (2),

-177.

ธนภร นิโรธร. (2559). การศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2562). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย สมาคม

อนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย. 1 (1), 77-89.

นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร. (2565). สร้างทักษะแห่งอนาคตด้วย Makerspace STEAM DESIGN PROCESS. กรุงเทพมหานคร: กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.

วสุกฤต สุวรรณเทน และวัลนิกา ฉลากบาง. (2559). คุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย : ปัจจัยเชิงสาเหตุ. วารสารเวอร์ริเดียน. 9 (3), 151-164.

ศศิธร วัฒนกุล และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2564). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนอนุบาลและทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7 (2),

-365.

ศิวะลักษณ์ มหาชัย และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม. 5 (2), 168-185.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตครุศาสตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร ปานหอม และวิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม. (2564). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. 27 มีนาคม 2564. วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักงานวิจัยและพัฒนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา : https://portal .bopp-obec.info/obec64/publicstat/report

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). STEAM4INNOVATOR. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://moocs.nia.or.th/article/steam4innovator.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: http://.www. nesdc.go.th.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สําหรับเด็ก

อายุ 3-6 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สมชาย รัตนทองคํา. (2566). จุดมุ่งหมายของหลักสูตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา :

https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/9aim.pdf.

Dyer, J. (2019). The Innovator’s DNA. The United States of America: Harvard Business Review Press.

Faber, C.F., & Gilbert, F.S. (1970). Elementary school administration. New York: Holt

Rhinehartand Winston.

Kieu P. (2017). 8 Skill that makes a successful innovator. Online. Retrieved August 24, 2021. from : https://sociable.co/business/innovation-8-skills/

Korea Institute of Child Care and Education. (2013). Nuricurriculum : The first step toward the integration of the split systems of early childhood education and care in Korea. Online. Retrieved November 15, 2016. from : https://kicce.re.kr/eng/newsletter _mail/pdf/ 201401_brief.pdf

Schmitt. L. (2013). An Innovaor’s skill Set – Eight Ways To Improve Your Capacity to Innovate. Online. Retrieved August 24, 2021, from : http://www.theinovogroup.com

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.

Wagner, T. (2012). The Global Achievement Gap: Why Even Our Best Schools Don't Teach the New Survival Skills Our Children Need--and What We Can Do About It. New York: Basic Books.