ความต้องการจำเป็นในการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริการที่นำแนวคิดการบริการที่ฉับไว (Agile service) เพื่อระบุปัญหาที่มีความซับซ้อนเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้สามารถส่งมอบการบริการที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ (GitLab, 2022) การจัดการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว เน้นการเรียนรู้จากการทำงานจริง เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถาบันการศึกษา จำนวน 59 แห่ง ที่เปิดหลักสูตรการโรงแรม มีผู้ให้ข้อมูลรวมจำนวน 168 คน และกลุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการ จำนวน 2 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลรวมจำนวน 12 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ (PNImodified) 0.275 โดยเมื่อพิจารณาด้านการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการ ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (PNImodified = 0.277) รองลงมาคือการดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (PNImodified = 0.276) เมื่อพิจารณาด้านภาระงานบริการพบว่างานบริการอาหารและเครื่องดื่ม (PNImodified = 0.281) มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดรองลงมาคือ งานบริการการขายและการตลาด (PNImodified= 0.275) เมื่อพิจารณาด้านการบริการที่ฉับไว การใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการให้บริการและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลในการบริการผู้ใช้บริการ (PNImodified = 0.310) มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดและอันดับรองลงมาคือ ทำงานเป็นทีมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีแรงจูงใจและความสัมพันธ์ที่ดี และปรับปรุงวิธีการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง (PNImodified= 0.277)
Article Details
References
พุทธชาด ลุนคำ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-2564: ธุรกิจโรงแรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/services/hotels/io/hotel-2022-2024.
สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ. (2561). อยาก ‘Agile’ หรือ ‘กระจาย’ เลือกเอา!. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/120747
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Berdie, D. R., Anderson, J. F., & Niebuhr, M. A. (1986). Questionnaires: Design and use. Metuchen, N.J.:Scarecrow Press.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row
Deborah, F. B. (2007). Assessment of Internship Experiences and Accounting Core Competencies, Accounting Education, 16 (2), 207-220
Harlen, W. (2007). Criteria for evaluating systems for student assessment. Studies in Educational Evaluation, 33(1), 15-28.
Kansakar, P., Munir, A., & Shabani, N. (2019). Technology in the hospitality industry: Prospects and challenges. IEEE Consumer Electronics Magazine, 8 (3), 60-65.
Lotus Buckner. (2010). Types of Assessments for Employees (With Steps and Tips). Online. Retrieved August 30, 2023. from: https://www.indeed.com/career-advice/career-development/assessment-for-employees.
Verney, T. P., Holoviak, S. J., & Winter, A. S. (2009). Enhancing the reliability of internship evaluations. The Journal of Applied Business and Economics, 9 (1), 22.