การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านหนองม่วง)

Main Article Content

พิทักษ์ พิมพ์ทอง

บทคัดย่อ

         การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3  (บ้านหนองม่วง) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) 2) เพื่อพัฒนาและประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ที่มีประสิทธิภาพ  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) โดยมีขั้นตอนดำเนินการ  4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียน จำนวน 250 คน ระยะที่ 2 พัฒนาและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ที่มีประสิทธิภาพ  ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) จำนวน 250 คน ระยะที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) จำนวน 250 คน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความ พึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ดัชนี การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) มีองค์ประกอบ 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการนำองค์กร ด้านกลยุทธ์ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านบุคลากร  ด้านปฏิบัติการ และด้านผลลัพธ์ ส่วนองค์ประกอบปัจจัย เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ด้านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการสร้างความร่วมมือกับชุมชน และด้านการสร้างเครือข่าย

  2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศและกระบวนการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดำเนินงานตามรูปแบบจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม Ptauy Model มีกระบวนการดำเนินงานโดยใช้ คือ ฟันเฟืองลำคัญของ Model สู่ความสำเร็จ ดังนี้

            Plan หมายถึง การวางแผนกันคิดจากการวิเคราะห์ ประชุมร่วมกันวางแนวทางเดียวกัน เป็นขั้นเป็นตอนในการปฏิบัติงาน สามารถปรับได้ตามสถานการณ์ มีความขัดเจนเป็นสากล ติดตาม ประเมินผลตรวจสอบได้ตลอดเวลา


            Pocss หมายถึง กระบวนวิธีการในการปฏิบัติกิจกรรมอันนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งผ่านการ วิเคราะห์และวางแผนอย่างเป็นระบบในทุกกิจกรรมอย่างขัดเจน เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นชั้น เป็นตอนตั้งแต่ต้นจบจบสิ้นสุดและจะมองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตลอดกระบวนวิธีการ นั้นๆ


            Particpate หมายถึง การมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กรทุกคน โดยเฉพาะผู้บริหาร ครู นักเรียนและเมชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา ทุกคนจะมีบทบาทและหน้าที่ในการ ร่วมมือการจัดการทำกิจกรรมทั้งหมดในองค์กร ร่วมคิด ร่วมทำ แสดงความคิดเห็น ร่วมรับผิดขอบ ร่วมยินดีกับความสำเร็จในองค์กร


            Team หมายถึง การทำงานร่วมกัน เป้าหมายเดียวกันอันหนึ่งอันเดียวกัน รู้รับผิดชอบร่วมกัน สำเร็จร่วมกัน สมานสามัคคีกัน ชื่นชมยินดีในองค์กรเดียวกันทุกคน


            Teach หมายถึง เป็นผู้สอนร่วมกันแนะนำ นิเทศกันและกัน ช่วยเหลือการเรียนรู้ต่อนักเรียน โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ตามวัย ตามหลักสูตร ตามศักยภาพและแนวนโยบายขององค์กร


            Attitude หมายถึง ทัศนคติความคิดเห็นต่อองค์กร ต่อบุคลากรในองค์กรที่ดี แผงไปด้วย คุณธรรมและความคิดเชิงบวกในการพัฒนานักเรียน พัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร ทั้งทางกาย ทางสติปัญญาและจิตใจอันดีงาม


            Actvity หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดในองค์กรที่ต้องขับเคลื่อนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมี ขั้นตอนระบุอย่างชัดเจน โดยผู้เรียนจะได้ปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะและถูกปลูกฝังสิ่งนั้นๆในที่สุด


            Active หมายถึง ความกระฉับกระเฉง แคล่วคล่องว่องไว้ ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ อย่างเต็มความสามารถ กระตือรือร้นต่องาน มีพลังในการขับเคลื่อนการปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับและเป็น แบบอย่างที่ดีต่อทุกคนในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เป็นวิชาชีพ


            Unity หมายถึงความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันมีความสามัคคี กลมเกลียว เป็นเอกภาพเดียวกัน ในการตามที่ได้รับมอบหมาย ตามหน้าที่ ตามบทบาทอันซึ่งให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในทั้งระบบ ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับแนวปฏิบัติ แนวนโยบายและเพื่อพัฒนานักเรียน ตามระบบการศึกษาของชาติ


            Understand หมายถึง ความเข้าใจถ่องแท้ เข้าใจถึงเป้าหมายการจัดการศึกษาของประเทศ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง เข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ องค์กร เข้าใจในความต้องการของนักเรียน เข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนา นักเรียนให้เป็นไปตามรูปแบบของการจัดกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เข้าใจในความรู้สึกของผู้ปกครอง เพื่อนครู ผู้บริหารและนักเรียนรวมทั้งชุมชนที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่พัฒนานักเรียนอย่างดียิ่ง


            Yell หมายถึง การกล่าวคำนชมที่ยิ่งใหญ่ ส่งเสริมให้เกิดพลังในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความจริงใจต่อเนื่องสร้างความรู้สึกที่ดี มีพลังให้ทำงานบรรลุโดยยั่งยืน


            Youth หมายถึง รู้จักการสร้างเยาวชน การดูแลเยาวชนที่มีคุณภาพที่ดี ส่งเสริมความเป็น ยาวชนให้อยู่ในสังคมที่ดี และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข


  1. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intra Class Correlation: ICC) มีค่าเท่ากับ 0.817 แสดงว่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินมีความสอดคล้องกันในระดับดี ผลการประเมินภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D. = .14 )

  2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กลยุทธ์ PTAUY Model สำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ปรากฏว่าผู้ใช้รูปแบบในโรงเรียนที่จัดการศึกษามีความคิดเห็นและความ พึงพอใจต่อประโยชน์และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช. 2542

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ก). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2540. การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

จิตติมา ธมชยากร. (2553). การบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธนากร อาทะเดช. (2551). คุณลักษณะสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนในสังกัด

ธีระกุล สถิรนาถ. (2543). การศึกษาบทบาทของครูในการปลูกฝังค่านิยมเชิงจริยธรรมให้แก่ นักเรียนโรงเรียนคาทอลิก ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.