สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนาการสอนเทเบิลเทนนิส แบบ SEMERC Model
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา สภาพ ความต้องการจำเป็นการเรียนการสอนกีฬาเทเบิลเทนนิส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการสร้างรูปแบบการสอนกีฬาเทเบิลเทนนิสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิธีดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี แบบการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างครูผู้สอนวิชาเทเบิลเทนนิส จำนวน 3 คน และแบบสนทนากลุ่ม จำนวน 3 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 10 คน รวมทั้งหมด 30 คน โดยเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความเป็นปรนัยของข้อคำถาม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้และอธิบายในลักษณะการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนการสอนเทเบิลเทนนิสในปัจจุบันผู้เรียนมีทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสไม่เป็นไปตามเกณฑ์ การสอนใช้เวลาในการอธิบายและสาธิตค่อนข้างมากทำให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติได้น้อย รวมทั้งมีวิธีการที่ไม่หลากหลาย ไม่จูงใจผู้เรียน ทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่สนุกกับการเรียน และยังทำให้ทักษะกีฬาไม่ดีตามไปด้วย (2) ความต้องการในการเรียนการสอนกีฬาเทเบิลเทนนิสประกอบด้วย ความคาดหวังผลลัพธ์การเรียนรู้ การวัดประเมินผลโดยประเมินผลตามความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมการสอนกีฬาเทเบิลเทนนิสที่มีความสนุกสนาน และการเสริมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ส่งเสริมการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส และ (3) แนวทางการสร้างรูปแบบการสอนกีฬาเทเบิลเทนนิสผู้วิจัยได้ดึงแนวคิด ทฤษฎีของ โรเบิร์ต กาเย่ ห้องเรียนกลับด้าน และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการของครูผู้สอนและผู้เรียน นำมาผสมผสานจนเกิดรูปแบบการสอน SEMERC Model
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยกองวิชาการกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา ธีระวิทยาเลิศ. (2559). เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสงวร. 7 (2), 284-289.
พัชชิราภรณ์ ฮาดดา. (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 16 (4), 59-70.
เมธิดา อนุบาลผล. (2563). การพัฒนาการเรียนรู้ทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ผลงานวิชาการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา https://www.kruchiangrai.net/.
สาโรจน์ เนตรสว่าง. (2564). การแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่มีทักษะวิชาพลศึกษา (เทเบิลเทนนิส) ด้วยการฝึกตามแบบฝึกออนไลน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ผลงานวิชาการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา https://www.chanawittaya.ac.th/success_teacher/detail/12/data.html.
สุนันท์ หิรัตพรม. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทเบิลเทนนิสตามแนวการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 12 (2), 96-109.
สำนักงานสถิติข้อมูลทางการศึกษา สพฐ. (2566). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/archives/817817
เอก แซ่จึง. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49 (2), 1-10
Bergmann J., and Sams, A. (2012). Flip Your Classroom : reach every student in every class every day. Courtney Burkholder: Printed in the United States of America.
Gagne Robert M. (1970). The conditions of learning. New York: Holt Rinehart and Winston.
Fang F., Ren, L., Gu, C., Wei, J. (2023). A Study of Junior High School Students' Willingness to Learn Table Tennis Using VR Technology. Human Aspects of IT for the Aged Population. 14042, 655-665.
Junhua Zou . (2012). Development of a Moodle course for schoolchildren’s table tennis learning based on Competence Motivation Theory: Its effectiveness in comparison to traditional training method. Computers & Education. 59 (2), 294-303.