การส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและส่งเสริมศักยภาพในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่เป้าหมาย คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 บ้านวงฆ้อง ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบทดสอบ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองในการพัฒนาและยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากวัตถุดิบที่มีในชุมชน สำหรับแนวทางการส่งเสริมโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การแสวงหาความรู้ 2) การพัฒนาและบูรณาการความรู้ 3) การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ 5) การจัดเก็บความรู้ และผลของการจัดการความรู้ทำให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มมากขึ้นภายหลังจากการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเป๋า เสื้อยืด ผ้าคลุมไหล่ หมวก และผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า ผลิตภัณฑ์เสื้อยืดและผ้าคลุมไหล่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลิตภัณฑ์กระเป๋าและหมวกมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง. (2563). การจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเชื่อมโยงสู่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่ : กรณีการทำผ้าหม้อห้อมของชาวไทยพวน. วารสารการพัฒนาสังคม. 22 (1), 69-82.
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
จิตาพัชญ์ ใยเทศ, ลฎาภา ร่มภูชัยพฤกษ์ และ อธิกัญญ์ มาลี. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (3), 83–96.
จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2562). เส้นทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย
ชนนิกานต์ อินทรเผือก, ประเพศ ไกรจันทร์ และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 12 (2), 46-56.
นพรัตน์ สำลี. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459. (9 กันยายน 2565). สัมภาษณ์.
ประสิทธิ์ ตึกขาว, ดนุลดา จามจุรี และ ศิริยุภา พูลสุวรรณ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารศิลปะการจัดการ. 5 (3), 718-732.
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วิศลย์ธีรา เมตตานนท์. (2560). การจัดการความรู้ในวิสาหกิจชุมชน: ทางเลือกในการพัฒนาความสามารถในการอยู่รอด. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. 9 (1), 103-126.
ศักดิ์ชาย สิกขา, ประทับใจ สุวรรณธาดา, ดารา แสงกองมี, และ สมพร แสงกองม. (2564). การพัฒนาผ้าขาวม้าสำหรับกลุ่มผู้ผลิตในชุมชนภาคอีสานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12 (2), 161-176.
อุทัย อันพิมพ์ และ สายรุ้ง ดินโคกสูง. (2566). การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน วิสาหกิจชุมชนร่องมาลี จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8 (5), 256–269.
อุทัย ปริญญา. (2560). “วิสาหกิจชุมชน” ปฏิทรรศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ. วาสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 37 (2), 131-150.
อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์. (2555). การจัดการองค์ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ไอกรุ๊ปเพลส.
ฤทธิชัย ขุนโยธา. นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ. (15 สิงหาคม 2565) .สัมภาษณ์.
Kambiz, A., Abbas, M., Aslan, A, S,. Laura, T., Jurga, N., Loreta K., Vladislavas, K. (2018). The effect of knowledge management,Organizational culture and organizational learning of innovation in automotive industry. Journal of Business Economics and Management. 19 (1),1–19.
Pokkrong, J., Cherdjerm, S., Jariyarattanagoon, J., Viramon, P., Kanponoi, N. & Senapa, C. (2022). The development of local products and contemporary arts as the souvenirs for the community-based tourism of the Khorum Sub-district, Uttaradit Province. Journal of Asia Arts and Design. 3 (1), 26-41.
Nonaka, I. (2002). A dynamic theory of organizational knowledge creation. In C.W. Choo and N. Bontis (eds.), The strategic management of intellectual capital and organizational knowledge (pp.437-462). New York: Oxford University Press.