การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน Vlog Project เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 2.1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 2.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้าง Vlog กับเกณฑ์ร้อยละ 80 2.3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการพูดภาษาจีน 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้าง Vlog 4) แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร / และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้กิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างกรอบความคิด 2) การระดมความคิด 3) การออกเสียงภาษาจีน 4) การตรวจสอบ 5) การประเมิน มีเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.58/80.56 2) ทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการสร้าง Vlog ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีพัฒนาการในการพูดภาษาจีนสูงขึ้น ทั้งในด้านความสมบูรณ์ของภาระงาน การพูดถ่ายทอดและการใช้ภาษา
Article Details
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี : เอ็มดี ออล กราฟิก.
บ้านเมือง. (2563). OKLS เผยจีนภาษาที่สามขานรับตลาดแรงงานปี 2021. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://www.banmuang.co.th/news/marketing/216392
ปิยนาถ ปิยสาธิต. (2564). การวิเคราะห์ความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านภาษาจีนใน ตลาดแรงงานไทยผ่านสื่อสารสนเทศออนไลน์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 14 (2), 35-47.
รัตนะ บัวสนธ์. (2564). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://www.sillapa.net/rule70/computer-70.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
College Board. (2022). Exam Questions and Scoring Information. Online. Retrieved September 29, 2022, from https://apcentral.collegeboard.org/media/pdf/ap22-sg- chinese-language.pdf
Faiza, D., Bestari, A. C. Y. and Mayekti, M. H. (2022). Students’ Perception of Vlog as A Self-Learning Media in Speaking. Surakarta English and Literature Journal. 5 (2), 90–104. https://doi.org/10.52429/selju.v5i2.7
Fitria, T. N. (2022). English Vlog Project: Students’ Perceptions and Their Problems. Acuity: Journal of English Language Pedagogy, Literature and Culture. 7 (1), 77-87. https://doi.org/10.35974/acuity.v7i1.2535
Huang, H. W. (2021). Effects of smartphone-based collaborative vlog projects. Journal of Educational Technology. 37 (6), 18-40.
Mufidah, Z. and Roifah, M. (2020). Vlog As Learning Media To Train English Fluency And Public Speaking Skill. Prosodi. 14 (1), 45-56.
Offeo (2022). 12 Tips for Making a Good Vlog. Online. Retrieved November 4, 2022, from https://offeo.com/learn/12-tips-for-making-a-good-vlog#toc-9-clickbait-with-caution
Sun, Y. C. (2009). Voice blog: An exploratory study of language learning. Language Learning & Technology. 13 (2), 88-103.
Weganofa, R. and Khoiro, I. (2021). The Effectiveness of Video Blog (VLOG) on Students’ Speaking Skill. The 2nd Annual Conference on Social Science and Humanities. 28 November 2020. Universitas Kanjuruhan Malang. Atlantis Press.