การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวย่างการวิจัย ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) จำนวน 15 ประกอบด้วย ผู้บริหารนโยบายระดับจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นักวิชาการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และแกนนำชุมชน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC ระหว่าง 0.80 – 1.00 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัย
- สภาพการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1พบว่าโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅ =3.94) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านอารมณ์ และความรู้สึก (x̅=3.97) ด้านการประเมินคุณค่า (x̅=3.97) ด้านข้อมูลข่าวสาร(x̅=3.95) และด้านทรัพยากร (x̅=3.90)
- ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ด้านอารมณ์และความรู้สึก ด้านการประเมินคุณค่า ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านทรัพยากร
- แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 พบว่าต้องดำเนินการดังนี้1) ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงานของ อสม.2) ด้านการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และ 3)ด้านการจัดทําบัญชีรายชื่อกลุ่มเสี่ยงและการแยกกลุ่มเสี่ยงเพื่อสังเกตอาการ
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 ในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ , นภชา สิงหวีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบัน บำราศนราดูร. 14 (2), 25-36.
กิตติพร เนาส์สุวรรณ, นภชา สิงหวีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู และกชกร ฉายากุล. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินคร์. 12 (3), 195-212.
เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2564). บทบาทของอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 4 (1), 44.-58.
วิทยา ชินบุตร, และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษวิทยาเชิงพุทธ. 6 (2), 302-303.
วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการ เฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิค 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 4 (2), 63-75.
สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธรณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 1 (2), 75-90.